วิธีปลูกแตงไทยให้ผลงาม ผลผลิตเยอะ ตัวเลือกผลไม้สู้ภัยแล้งที่น่าสนใจ

วิธีปลูกแตงไทยให้ผลงาม ผลผลิตเยอะ ตัวเลือกผลไม้
สู้ภัยแล้งที่น่าสนใจ

แตงไทยผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน จะกินสดก็ดีนำไปทำของหวานก็อร่อย แต่วิธีปลูกแตงไทยให้ได้ผลเยอะ เนื้อหวาน เป็นที่ต้องการของตลาดนั้น ต้องทำอย่างไร ใช้วิธีการปลูกแตงไทยแบบไหน KUBOTA จะมาแนะนำให้แบบครบถ้วนทุกรายละเอียด

ปลูกแตงไทย ดีอย่างไร?

ข้อดีของการปลูกแตงไทย มีดังนี้

  • โตได้เร็วเก็บเกี่ยวได้ไว
  • ผลผลิตดีปริมาณสูง
  • มีตลาดรองรับ
  • ทนทานต่อหน้าแล้ง
  • ทนทานต่อโรคและแมลง  

พันธุ์แตงไทยที่นิยมปลูก

5 สายพันธุ์แตงไทยที่นิยมปลูกในประเทศไทย

  • แตงไทยสายพันธุ์สิงคโปร์
  • แตงไทยสายพันธุ์น่าน
  • แตงไทยสายพันธุ์สีทอง
  • แตงไทยสายพันธุ์หมอนทอง
  • แตงไทยสายพันธุ์หอมละมุน
ขอบคุณภาพจาก: Technologychaoban

วิธีปลูกแตงไทยให้ผลผลิตสูง

วิธีปลูกแตงไทยให้ได้ผลผลิตสูง มีดังนี้

1. เลือกพันธุ์ที่ต้องการ (หรือตลาดต้องการ ให้ผลผลิตเยอะ ทนแล้งได้ดี)

ขั้นตอนแรกก่อนจะปลูกแตงไทย เกษตรกรควรเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ตรงต่อความต้องการ
ของตลาด และทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีเพื่อให้สามารถเติบโตได้ดี ขายได้ในราคาสูง สร้างผลกำไรได้ตลอดปี

2. ไถพรวนดิน ใส่ปุ๋ย

ขั้นตอนต่อมาคือการเตรียมดิน โดยเกษตรกรต้องไถพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช แล้วตากทิ้งไว้ประมาณ
2 สัปดาห์ หลังจากครบให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน ต่อ 1 ไร่ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน ก่อนทำการไถพรวนอีก 2-3 ครั้งเพื่อให้ดินร่วนซุยและกำจัดวัชพืชอีกครั้ง

หลังจากนั้นให้ทำการยกร่องดินให้กว้าง 80-100 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ดินแฉะมากเกินไป
โดยเว้นระยะห่างประมาณ 4 เมตรต่อแปลง และทำการหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อีก 1 ครั้ง

3. วางระบบน้ำ

หลังจากเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแตงไทยเสร็จแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการวางระบบน้ำให้เพียงพอต่อการปลูกแตงไทย โดยแนะนำให้ใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแตงไทยซึ่งไม่ต้องการน้ำมากนัก
หากอยากรู้ว่าควรวางระบบน้ำหยดอย่างไร คลิก

ขอบคุณภาพจาก: 108technofarm

4. คลุมดินรักษาความชื้น

หลังจากวางระบบน้ำแบบหยดเสร็จแล้ว ให้คลุมพื้นที่เพาะปลูกด้วยพลาสติกสีดำหรือสีเทา เพื่อรักษาความชื้นของดิน และป้องกันศัตรูพืช จากนั้นให้เจาะรูเพื่อทำหลุมสำหรับการเพาะปลูกโดยเว้นระยะห่าง
50 เซนติเมตร พร้อมกับเปิดระบบน้ำ

5. หยอดเมล็ด

หลังจากได้หลุมสำหรับเพาะปลูกแตงไทยแล้ว ให้หยอดเมล็ดแตงไทยหลุมละ 3-4 เม็ด/หลุม ทำการกลบดินและรดน้ำ ทิ้งช่วง 2-3 วัน เมล็ดจะทยอยงอกขึ้นมา หรือเพาะเมล็ดในถาดหลุมเพาะกล้าให้ต้นกล้ามีอายุ 10 -12 วัน ก่อนย้ายกล้าลงแปลง

6. คัดเลือกต้นที่แข็งแรง

หลังจากที่เมล็ดงอกแล้วให้คัดเลือกเฉพาะต้นที่ดูแข็งแรง เพื่อใช้ทำการปลูกต่อไป ช่วยให้ประหยัดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่าง ๆ ในการกำจัดวัชพืชและแมลง แต่หลังจากที่แตงไทยออกดอกประมาณ 20 – 30 วัน หลังย้ายปลูกให้เว้นการใช้สารเคมีเนื่องจากจำเป็นต้องใช้ ผึ้ง มิ้ม ชันโรง ในการผสมเกสร เพื่อให้ติดผล

ขอบคุณภาพจาก: ความสุขปลูกได้

7. ใส่ปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยด
(ถ้าใช้ระบบน้ำอื่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)

เมื่อปลูกแตงไทยได้ มีอายุ 20, 30 และ 45 วัน ให้ทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพิ่มเติมผ่านระบบน้ำ
เพื่อให้เกิดผล และใส่ปุ๋ยเพิ่มอีกครั้งเมื่อผลแตงไทยมีน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัมขึ้นไปเพื่อขยายขนาด โดยให้ปุ๋ยในอัตราส่วน 200 กรัมต่อน้ำ 100 กรัม

8. การเก็บเกี่ยว

เมื่อปลูกแตงไทยได้ 60 วัน แตงไทยจะเริ่มสุก พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยว แต่ก่อนเก็บเกี่ยวควรงดน้ำ
2-3 วัน เพื่อให้ได้ผลแตงไทยที่พร้อมทั้งอายุและขนาด จึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยว

ขอบคุณภาพจาก: Technologychaoban

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับวิธีปลูกแตงไทย

การปลูกแตงไทยสามารถปลูกได้ง่ายและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะปลูกแตงไทยให้ได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพ ในปริมาณที่สูง และเป็นที่ต้องการของตลาดนั้น เกษตรกรควรต้องศึกษารายละเอียด
และปฏิบัติตามโดยปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองตามที่ KAS Kubota (Argi) Solutions ได้แนะนำไว้ให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น การคัดเลือกสายพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ วางระบบน้ำ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผลของการปลูกแตงไทยให้สูงสุด ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก: กรมส่งเสริมการเกษตร

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วแขก หรือถั่วเม็ดนุ่น เป็นชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ มีลักษณะต้น ใบ กิ่งก้าน ฝัก และเมล็ดใกล้เคียงกับถั่วเขียวธรรมดา ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด ส่วนเปลือกถั่วและซากลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ ยังสามารถปลูกไว้เพื่อใช้ทำปุ๋ยพืชสดได้ ปัจจุบันผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำตลาดของ
ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ 4,146 ตัน แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 เกิดปัญหาฝนแล้งทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังได้ ประกอบกับนโยบายแทรกแซงราคาข้าวสิ้นสุดลง เกษตรกรจึงหันมาปลูกถั่วเขียวแทน