KAS เกษตรครบวงจร คำตอบที่ใช่ ให้เกษตรชีวิตดี

KAS เกษตรครบวงจร นวัตกรรมเกษตรรูปแบบใหม่จากคูโบต้า ที่เชื่อมองค์ความรู้การทำเกษตร เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่แม่นยำและใช้ได้จริง เพื่อให้เกษตรกรและคนที่สนใจทำเกษตรสามารถนำไปปรับใช้ วางแผนแนวทางการทำเกษตรในรูปแบบของตัวเอง ช่วยให้ทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกสบายขึ้น ด้วยสินค้านวัตกรรมจากคูโบต้า อย่างโดรนการเกษตร ตัวช่วยในการบำรุงรักษาพืช เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำงานได้ไว คุณภาพการฉีดพ่นสม่ำเสมอ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีให้กับเกษตรกร

แค่เริ่มใช้ KAS Crop Calendar แอปพลิเคชันก็เริ่มทำเกษตรได้อย่างแม่นยำ ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยให้เกษตรกรรู้ทันสภาพอากาศ สามารถเช็กพยากรณ์อากาศประจำวัน และพยากรณ์อากาศล่วงหน้า ลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่กระทบการเพาะปลูก เพื่อนำข้อมูลมาวางแผน และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นแอปฯ ที่แนะนำให้เกษตรกรมีติดมือถือไว้ ตอบโจทย์ชีวิตเกษตรกรยุคดิจิทัล

ควบคุมต้นทุนการเพาะปลูกได้ดั่งใจ ด้วย KAS Crop Calendar แอปพลิเคชัน เกษตรกรสามารถบันทึกรายรับ-รายจ่ายจากการเพาะปลูก จึงสามารถคำนวนต้นทุน และประมาณการความคุ้มค่าที่ได้รับ จนนำไปสู่การใช้ต้นทุนที่เหมาะสม

กำหนดรูปแบบการทำเกษตรในแบบของตัวเองได้ ด้วยปฏิทินการเพาะปลูก (KAS Crop Calendar) และ 48 เทคนิคการเพาะปลูก ที่ครอบคลุมหลากหลายพืช สร้างมาตรฐานใหม่ในการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรยุคดิจิทัล ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพ รายได้มั่นคง และหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ และผลักดันไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน

Tag:

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดินทราย – เนื้อดินมีลักษณะหยาบ (ทรายจัด) – ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก – การระบายน้ำดีมาก – พบมากในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับดินทราย ดินร่วนปนทราย – เนื้อดินค่อนข้างหยาบ – ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ – การระบายน้ำดี
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เอกสารแนะนำ เลขที่ 2/2552 ธันวาคม 2552 เกษตรกรสามารถควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง โดยใช้ชีววิธี มี 2 วิธี ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น และการปล่อยตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและชีวภาพ ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่ละชนิดที่วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร พบว่าประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) กรดอินทรีย์ พวกกรดฮิวมิก ฮอร์โมน พวกออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์