ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ รู้จักหลักเบื้องต้นของการปลูกข้าว

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ
รู้จักหลักเบื้องต้นของการปลูกข้าว

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ? คำถามคู่เกษตรกรปลูกข้าวมือใหม่ เพราะการปลูกข้าวไม่ใช่เพียงแค่หว่านแล้วจบ แต่จำเป็นต้องศึกษาระยะการเจริญเติบโตของข้าวให้ครบถ้วน เพื่อให้ได้ต้นข้าวคุณภาพดีที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าอยากรู้แล้วว่าระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ KUBOTA (Agri) Solutions สรุปมาให้แล้วในบทความนี้

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีทั้งหมด 2 ระยะ คือระยะเจริญทางลำต้นและใบ และระยะเจริญ
ทางระบบสืบพันธุ์ โดยภาพรวมระยะการเจริญเติบโตของข้าวสามารถดูได้ดังนี้

ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ

1.    ระยะเจริญทางลำต้นและใบ

ระยะเจริญทางลำต้นและใบมีรายละเอียดดังนี้

ระยะกล้า

ระยะหลังปลูกข้าวประมาณ 0-30 วัน เป็นช่วงเมล็ดข้าวเริ่มงอก มีใบเกิดขึ้นราว ๆ 5-6 ใบ
สูงประมาณ 50 เซนติเมตร เริ่มดูดอาหารทางราก ให้เริ่มใส่ปุ๋ยครั้งแรกที่ระยะ 25-30 วัน
เพื่อให้ข้าวได้รับธาตุอาหารเพียงพอต่อการแตกกอ

ปลูกข้าว ระยะกล้า

ระยะแตกกอ

ระยะหลังหว่านประมาณ 30-50 วัน หลังข้าวเติบโตจนสมบูรณ์ ต้นกล้าจะเริ่มแตกหน่อ จึงเรียกระยะนี้ว่า ‘ระยะแตกกอ’ ซึ่งเป็นระยะที่ต้นข้าวต้องได้รับธาตุอาหารที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มปริมาณ
การแตกกอให้ได้เป็นจำนวนมากระยะนี้ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที 2 เพื่อให้ข้าวมีต้นที่สมบูรณ์ และเตรียม
เข้าสู่ระยะตั้งท้อง

ระยะแตกกอต้นข้าว

2.    ระยะเจริญทางระบบสืบพันธุ์

ระยะเจริญทางระบบสืบพันธุ์มีรายละเอียดดังนี้

ระยะตั้งท้องและออกรวง

หลังแตกกอเต็มที่ จะเข้าสู่ระยะตั้งท้องและออกรวง ก่อนเก็บเกี่ยว 60 วันต้นข้าวจะเริ่มตั้งท้อง สามารถสังเกตระยะนี้ได้จากโคนต้นข้าวจะพองขึ้น เปลี่ยนจากต้นแบนเป็นกลม มีการยืดปล้องขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าผ่าลำต้นจะเห็นจุดกำเนิดช่อดอกสามเหลี่ยมสีขาวที่จะขยายตัวจนเป็นช่อดอกสมบูรณ์  ในระยะนี้สามารถให้ปุ๋ยเสริมครั้งที่ 3 เพื่อเพิ่มน้ำหนักเมล็ด  เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพและปริมาณสูง

ระยะตั้งท้องและออกรวง ข้าว
ขอบคุณภาพจาก ipmp.riceschool

ระยะสะสมน้ำหนักและเก็บเกี่ยว

ระยะนี้เป็นช่วงที่ข้าวจะดึงธาตุอาหารจากใบส่วนล่างมาใช้เพื่อสร้างเม็ดให้เต็ม เริ่มเปลี่ยนจากน้ำนมเป็นแป้งแข็ง เก็บเกี่ยวได้หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ระยะนี้เรียกว่า ‘ระยะพลับพลึง’ โดยปลายรวงจะมีสีเหลือง โคนรวงเป็นสีเขียวอ่อน ทั้งนี้ ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วันต้องระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ

ระยะน้ำนม พร้อมเก็บเกี่ยวข้าว

ข้อดีของการศึกษาระยะการเจริญเติบโตของข้าว

ข้อดีของการรู้จักระยะการเจริญเติบโตของข้าวมีดังนี้

  1. วางแผนการปลูกข้าวได้เหมาะสม เป็นระบบ
  2. จัดการการให้น้ำ ปุ๋ย ได้เหมาะสม
  3. ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชได้เหมาะสมกับข้าวในแต่ละระยะ
  4. คาดการณ์ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวได้แม่นยำมากขึ้น

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับระยะการเจริญเติบโตของข้าว

KUBOTA (Agri) Solutions หวังว่าบทความนี้จะสามารถตอบคำถาม ระยะการเจริญเติบโตของข้าวมีกี่ระยะได้ครบถ้วน เพื่อให้การปลูกข้าวของเกษตรกรชาวไทยเป็นไปได้อย่างราบรื่น
มีองค์ความรู้พื้นฐาน ลดความเสี่ยงในการปลูกพืชต่าง ๆ ลงได้อย่างมาก

แจกฟรี! ปฏิทินปลูกข้าวนาปี 2567 สำหรับเกษตรกรไทย

ปฏิทินปลูกข้าวนาปี

เกษตรกรท่านใดต้องการวางแผนปลูกข้าวนาปี บันทึกการปลูกข้าวแบบละเอียด ระบบแจ้งเตือนบันทึกรายรับรายจ่าย พร้อมสรุปภาพรวมให้ครบ KUBOTA (Agri) Solutions เปิดโอกาส
ให้คุณสร้างปฏิทินการปลูกข้าวนาปีของตัวเองได้แล้ววันนี้ ฟรี! แอด LINE @siamkubota
คลิกที่นี่เลย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ผ่านช่องทางดังนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

1. การเลือกปลูกพืชที่เหมาะสม การเลือกปลูกพืชที่ทนกรด ทนต่อการขาดธาตุอาหารบางชนิดและพืชที่ทนต่อสารพิษของเหล็กและอะลูมินัมได้จะเป็นการช่วยลดต้นทุน การผลิตจากการใช้ปูนปรับปรุงดิน ทั้งนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากการปลูกพืชในพื้นที่ดินที่เปรี้ยวจัดต้องลงทุนในการจ
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ
การเกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือจากฝนตกหนักน้ำไหลบ่าท่วมฉับพลัน หรือน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ดังนั้นหลังจากน้ำลดลงระดับปกติจึงควรมีการจัดการดินที่เหมาะกับการปลูกข้าว ซึ่งความรุนแรงของความเสียหายขึ้นกับระยะ