โรคใบหงิก (โรคจู๋) (Rice Ragged Stunt Disease)

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง

สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV)

อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว ขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ เมล็ดลีบ ผลผลิตลดลง 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และข้าวพันธุ์อ่อนแอที่เป็นโรคในระยะกล้า ต้นข้าวอาจตายและไม่ได้ผลผลิตเลย

การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสสาเหตุโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด

ลักษะการดูดกินของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัด
• กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ
• ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 3 และชัยนาท 2 แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัวเข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้
• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อน เช่น ไดโนทีฟูเรน หรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิดหรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารป้องกันกำจัดโรคพืชหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง
• ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ จึงทำให้เกิดการระบาดรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• ถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1 – 2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงพาหะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่าง และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบน
การดูดธาตุอาหารของพืช พืชได้รับคาร์บอนและออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการสังเคราะห์แสงจากใบพืชและส่วนที่มีสีเขียว ส่วนธาตุอาหารพืชในรูปของไอออนพืชได้รับเช่นกัน การดูดธาตุอาหาร พืชโดยส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ การดูดธาตุอาหารของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช และ การดูดซับธาตุอาหารของพืชทางราก สารอาหารสามารถ
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคกลาง 2. ชุดดินนครปฐม (Nakhon Pathom series : Np) กลุ่มชุดดินที่ 7 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า การไหลบ่าของน้ำ