โรคใบสีแสด (Orange Leaf Disease)

พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง

สาเหตุ : พบทุกภาคที่มีการระบาดของแมลงพาหะ

อาการ : ข้าวเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงระยะตั้งท้อง ต้นข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ และใบจะแห้งตายในที่สุด ต้นข้าวสูงตามปกติ แต่แตกกอน้อย และตายอย่างรวดเร็ว โรคใบสีแสดนี้เกิดเป็นกอๆ ไม่แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างเหมือนโรคใบสีส้ม

การแพร่ระบาด : เชื้อโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะคือ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เชื้อสามารถอาศัยอยู่ตามวัชพืชและพืชอาศัยชนิดต่างๆ

การป้องกันกำจัด:

• กำจัดหรือทำลายเชื้อสาเหตุโรค โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เช่น กข1 กข3 แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะได้แก่ ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อน เช่นไดโนทีฟูเรน หรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิด หรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารป้องกันกำจัดโรคพืชหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง

• ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน

• ถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1–2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงพาหะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เดิมชื่อรหัส เอ็น เอส เอ็กซ์ 042029 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์แท้พันธุ์ตากฟ้า 1 (พันธุ์แม่) และสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 3 (พันธุ์พ่อ) ซึ่งสร้างและพัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์และดำเนินการประเมินผลผลิตตามขั้นตอน
ความสำคัญ มวนพิฆาตเป็นแมลงที่มีประโยชน์ทางการเกษตร เพราะเป็นตัวห้ำดูดกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร แมลงที่เป็นเหยื่อมักเป็นหนอนผีเสื้อต่างๆ หรือตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งบางชนิด มวนพิฆาตมีวงจรชีวิตที่สั้น และเลี้ยงง่ายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ของพืชผัก ไม้ดอก พืชไร่ และไม้ผลได้เป็นอย่างดี
ข้าวที่ดีที่สุดในโลกคือ ข้าวหอมมะลิ 105 ของไทยไม่มีใครกล้าปฏิเสธ แต่ผลผลิตที่เกษตรกรปลูกได้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 350-450 กก./ไร่ เท่านั้น แต่มีกลุ่มเกษตรกรบ้านช้างมิ่ง จ.สกลนคร ปลูกข้าวหอมมะลิได้ผลผลิตถึง 700 กก./ไร่ และยังได้ราคาสูงกว่าราคากลางถึง 20% เขามีวิธีการอย่างไรเรามาดูกัน โดยการศึกษาครั้งนี้ผู