โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease) ศัตรูสำคัญของข้าวในระยะออกรวง

 สาเหตุเชื้อรา Bipolaris oryzae ชื่อเดิม Helminthosporium oryzae (Breda de Haan.) Shoemaker, 1959 ลักษณะอาการ จะเกิดแผลที่ใบข้าว โดยพบมากในระยะแตกกอ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลรูปกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกของใบแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1- 2 x 4 -10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถพัฒนาเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือกซึ่งเป็นอาการของโรคเมล็ดด่าง ได้อีกด้วย บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่า

การแพร่ระบาด

เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด การปลูกข้าวแบบต่อเนื่อง ที่ไม่พักดินและขาดการปรับปรุงบำรุงดิน จะเพิ่มโอกาสในการการระบาดของโรคอาการใบจุดสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และหางยี 71
  • ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค
  • คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็บ หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ ในอัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
  • ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัม / ไร่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค
  • กำจัดวัชพืชในนา ดูแลแปลงให้สะอาด และใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม

หากพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง หรืออาการเกิดที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง จะทำให้เกิดโรคเมล็ดด่าง ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ โพรพิโคนาโซล ทีบูโคโนโซล ครีโซซิม-เมทิล หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและชีวภาพ ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่ละชนิดที่วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร พบว่าประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) กรดอินทรีย์ พวกกรดฮิวมิก ฮอร์โมน พวกออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
การอนุรักษ์ดินและน้ำ นอกเหนือจากการปรับปรุงดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีสมบัติอื่น ๆ ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ในขณะเดียวกันควรมีการป้องกันหรือควบคุมความเสื่อมโทรมของดินไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุดรูรั่วหรือป้องกันการสูญเสียเนื้อดินที่ดีรวมทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารออกไป
การผลิตอ้อยมีหลายกิจกรรมที่ใช้แรงงานมาก และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการแต่ละกิจกรรมให้ทันเวลา แต่ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร่อ้อยทวีความรุนแรงมากขึ้น หากจะบริหารจัดการในไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพจะใช้แต่แรงงานคนนั้นอาจไม่ทันเวลา เครื่องจักรกลการเกษตรจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่