แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา

ความสำคัญ

แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา จัดเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีความสำคัญ ที่สามารถทำลาย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนกอข้าว ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย และไข่หนอนกระทู้เป็นต้น โดยตัวเมียของแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าจะวางไข่ ไว้ในไข่ของแมลงศัตรูพืช ทำให้ไข่ไม่ฟักออกเป็นตัวแต่จะฟักออกเป็นแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา มักใช้แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา ในช่วงศัตรูพืชระบาด จะช่วยลดปริมาณไข่ของแมลงศัตรูพืชได้มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ไม่มีสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

รูปร่างลักษณะ

แตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่า มีขนาดเล็กมากความยาวจากส่วนหัวถึงปลายส่วนท้องตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย เฉลี่ย 0.4 และ 0.36 มม. ตามลำดับ ส่วนความกว้างเมื่อกางปีกออกของตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย มีขนาดประมาณ 0.87 และ 0.93 ตามลำดับ โดยตัวเต็มวัยจะมีขนาดเล็ก ตาสีแดง หนวดเป็นปล้อง 

ลักษณะการทำลายเหยื่อ

แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่า เพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปตรงส่วนบนของไข่ผีเสื้อ ซึ่งไข่ของผีเสื้อ 1 ฟอง อาจจะมีแตนเบียนฯ วางไข่ 1 – 4  ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารภายในไข่ เมื่อแตนเบียนฟักออกเป็นตัวอ่อน ก็จะดูดกินของเหลวภายในไข่ของผีเสื้อจนเจริญเติบโตเต็มที่ และเข้าดักแด้อยู่ภายในไข่ของผีเสื้อ เมื่อเจริญเติบโตจนเป็นตัวแก่ จึงจะเจาะรูออกมาจากไข่ของผีเสื้อ ไข่ของผีเสื้อที่ถูกแตนเบียนทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม ภายในระยะเวลา 3 วัน หลังจากนั้น 8 วัน จะฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัยของแตนเบียน ซึ่งจะผสมพันธุ์และไปทำลายไข่ของผีเสื้อต่อไป เฉพาะแตนเบียนตัวเมียเท่านั้นที่ทำลายไข่ของผีเสื้อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ว่าการทำนาด้วยวิธีการหว่านแห้ง หรือการหว่านน้ำตม ส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากการหว่านจะทำให้ต้นข้าวแตกกอหนาแน่น ไม่เป็นระเบียบ จึงจัดการดูแลรักษายาก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช มีโอกาสเกิดโรคและได้รับความเสียหายจากแมลงศัตรูพืช
ข้าวพันธุ์ กข 79 ได้รับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 และอยู่ระหว่างการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าว รองรับพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 500,000 ไร่ ในปี 2563 กรมการข้าวจึงปรับแผนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ กข79 จำนวนหนึ่งมาใช้ในโครงการนำร่องการผลิตและตลาดข้าวนุ่มครบวงจรในพื้นที่เขตชลประทาน
“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งานก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย