เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว

ในการทำนาข้าวแบบดั้งเดิมนั้นหนึ่งฤดูการเพาะปลูกจะใช้น้ำประมาณ 700 -1,500 มิลลิเมตร ดังนั้นเทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง(แกล้งข้าว)สามารถประหยัดน้ำได้ประมาณ 30% -50%  ลดปัญหานาหล่ม ป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเนื่องจากความชื้นที่โคนกอข้าวต่ำ และกระตุ้นการออกรากของข้าว ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับนาในเขตชลประทานที่สามารถควบคุมน้ำ มีการจัดการพื้นที่ มีสระน้ำที่สามารถหมุนเวียนน้ำในพื้นที่ได้

อุปกรณ์สำหรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4 นิ้ว  ความสูง  25 เซนติเมตร  เจาะรูจำนวน  40 รู 

วิธีการใช้อุปกรณ์

นำท่อดูน้ำไปฝังในแปลงนาที่มีพื้นเรียบ โดยให้ปากท่อพ้นผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตรหลังจากนั้นเอาดินภายในท่อออกให้หมด จะสังเกตเห็นว่าระดับน้ำภายในท่อและภายนอกท่อเท่ากัน

เทคนิคสำหรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

คือ การขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 เซนติเมตรในช่วงหลังจากการปักดำ จนกระทั่งข้าวเริ่มตั้งท้องและออกดอกจะต้องทำการเพิ่มระดับน้ำในแปลงนา ซึ่งการปล่อยข้าวขาดน้ำหรือแกล้งข้าวมีด้วยกัน 2 ช่วง คือ

1.  ช่วงข้าวอายุประมาณ 35-40 วัน เป็นเวลา 14 วันหรือจนกว่าดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

2.  ช่วงข้าวอายุประมาณ 50 – 60 วัน เป็นเวลา 14 วันหรือจนกว่าดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

ซึ่งการปล่อยหน้าดินให้แตกระแหงในช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตนั้น ช่วยให้ข้าวได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ รากข้าวจะได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดรากใหม่เพิ่มขึ้น แต่การทำนาแบบเปียกสลับแห้งนี้มีข้อควรระวังคือ ในช่วงข้าวตั้งท้อง ห้ามปล่อยน้ำให้แห้งเด็ดขาด และไม่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ในการปลูกข้าวที่เป็นดินทรายและดินเค็ม โดยกิจกรรมการเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง หรือการแกล้งข้าวในหนึ่งฤดูปลูกมีรายละเอียดดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ปฏิทินกิจกรรมการปลูกแบบเปียกสลับแห้ง หรือการแกล้งข้าว

จะเห็นได้ว่าการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนี้เหมาะสำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันเนื่องจากวิธีการนี้เป็นการเพาะปลูกข้าวโดยสามารถบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรยังสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน หมายถึงดินที่มีกรดกำมะถันเกิดขึ้นในดิน ทำให้ดินนั้นเป็นกรดจัดมากหรือเป็นกรดรุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช พบในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลที่มีหรือเคยมีน้ำทะเลหรือมีน้ำกร่อยท่วมถึงในอดีต ประกอบด้วยพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดของภาคกลางตอนใต้ ภาคใต้และภาคตะวันออก มีเนื้อที่
เกิดจากเชื้อรา มักจะพบควบคู่ใบไปกับโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคนี้สามารถทำให้ผลผลิตลดลงได้ 12-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ใบใบเหลือง และร่วงเร็วกว่าปกติ และอาจเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการเปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญได้ดีเมื่อใบร่วง และพุ่มใบเปิด ลักษณะอาการ อาการของโรคพบบนใบ เป็นจุดกว้างไม่มีขอบเขต