สูตรเด็ดพิชิตเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (สูตรอาจารย์ทองเหมาะ)

พี่เกษตรกรชาวนาบ่นมาว่า เพลี้ยระบาด คราวนี้จึงนำเสนอสูตรเด็ดเคล็ดไม่ลับ ไม่ต้องซื้อสารเคมี แต่ได้ผลอย่างมหัศจรรย์ แค่ต้องลงมือทำนิดนึง สูตรนี้ได้มาจากเกษตรกรคนเก่ง อาจารย์ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง แห่งสุพรรณบุรี

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกลโดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย 

ส่วนประกอบสำคัญ

1. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม

2. น้ำมะพร้าว 3 ลิตร

3. เหล้าขาว 2 ขวด (ขวดใหญ่)

4. พริกไทยดำ 2 – 3 ขีด

วิธีการทำ

– นำพริกไทยดำมาโขลกให้ละเอียด

– ผสมน้ำตาลทรายแดง น้ำมะพร้าว น้ำส้มสายชู เหล้าขาว ในถังขนาด 20 ลิตร คนให้เข้ากันจากนั้นก็เติมพริกไทยดำที่โขลกเรียบร้อยแล้วลงไปปิดฝาถังหมัก หมักทิ้งไว้ 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้โดยกรองเอาเฉพาะน้ำ

วิธีการใช้

นำไปฉีดพ่นในพื้นที่ที่เกิดโรคโดยใช้ในอัตราส่วนน้ำหมัก 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยควรทำการฉีดพ่นในช่วงเช้าก่อนมีแดด 

วิธีการใช้พืชสมุนไพรนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะเป็นการป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ปลอดภัยต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อมด้วย แต่การเริ่มต้นที่ดีก็สำคัญ กล่าวคือ เพลี้ยกระโดดสามารถป้องกันการระบาดได้ด้วยการทำการเกษตรอินทรีย์เลิกใช้สารเคมี ต้นข้าวจะแข็งแรงเพลี้ยมาเกาะก็ไม่สามารถสร้างความเสียหายได้ 

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : การผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประวัติพันธุ์ :ทดสอบที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ทดสอบผลผลิตในสถานีระหว่างสถานีในนาราษฎร์ โดยมีทดสอบความ ต้านทานต่อโรคและแมลงศ
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและชีวภาพ ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่ละชนิดที่วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร พบว่าประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) กรดอินทรีย์ พวกกรดฮิวมิก ฮอร์โมน พวกออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์