วิธีการรับมือน้ำเค็มเบื้องต้น

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง

ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เกิดจากในช่วงหน้าแล้งน้ำทะเลหนุนสูงทำให้มีน้ำเค็มผ่านเข้าระบบน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา และเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดน้ำเค็มบนดิน ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากน้ำบาดาลเค็มและส่งผลให้น้ำผิวดินบางช่วงเกิดปัญหาความเค็ม

โดยวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้สามารถทำได้โดยจัดหาแหล่งน้ำสำรองหรือขุดสระเพื่อเก็บน้ำจืดจากแม่น้ำหรือน้ำธรรมชาติ เนื่องจากเมื่อถึงฤดูแล้งสามารถใช้น้ำสำรองในสระแทนการใช้น้ำจากธรรมชาติหรือบ่อดาลได้นั่นเอง

รูปแบบของการขุดสระ

ขั้นตอนในการขุดสระ

โดยรายละเอียดในขั้นตอนการขุดสระสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เทคนิคและขั้นตอนการขุดสระน้ำเพื่อการเกษตรด้วยรถขุดคูโบต้า KX080-3

จากบทความรูปแบบการขุดสระข้างต้นนอกจากช่วยในการกักเก็บน้ำเมื่อน้ำเค็มเข้าบุกรุกพื้นที่เพาะปลูกแล้ว ยังเป็นการกักเก็บน้ำหรือสำรองไว้ใช้เมื่อถึงฤดูแล้ง ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรสามารถปลูกพืชและมีผลผลิตได้ตลอดทั้งปีนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้ ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียง
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง (Cassava Bacterial Blight : CBB) เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris pv. manihotis มีรายงานการพบครั้งแรกในประเทศบราซิลในปี 2455 หลังจากนั้นมีรายงานการแพร่ระบาดเกือบทุกประเทศที่มีการปลูกมันสำปะหลังทั้งทวีปเอเชียและลาตินอเมริกา ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่จังหวัดระยอง เมื่อปี 2518
ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1 การรับรองพันธุ์