ชุดดินหางดง

ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคเหนือ

1. ชุดดินหางดง (Hang Dongseries : Hd)

กลุ่มชุดดินที่ 5

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ

สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %

การระบายน้ำ : เลว

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินเหนียวลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งสีเทาถึงเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทา พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลแก่ตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ในบางพื้นที่ อาจพบชั้นทรายบางๆ แทรกสลับในดินชั้นล่าง

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณที่ราบลุ่มในภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และพะเยา ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

ปัญหาและข้อจำกัด : การมีน้ำขังในช่วงฤดูฝน

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสำหรับทำนา จะให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในพื้นที่ชลประทาน นอกฤดูทำนาอาจปลูกพืชไร่หรือพืชผัก ซึ่งจะต้องยกร่องและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยและระบายน้ำดีขึ้น โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาแปลงอ้อยโดยใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็ก อ้อยเป็นพืชที่มีการปลูกเป็นแถว มีระยะห่างระหว่างแถวตั้งแต่ 80 – 180 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งแบบร่องคู่และร่องเดี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะการเจริญเติบโตของแต่ละพันธุ์อ้อยและความอุดมสมบูรณ์ของสภาพดินและน้ำ อีกทั้งเมื่อปลูกแล้วอ้อยยังสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง