ชุดดินกำแพงแสน

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคกลาง

6. ชุดดินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen series : Ks)

กลุ่มชุดดินที่ 33

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด

สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงช้า

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วน สีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างอ่อน (pH 7.0-8.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม พบเกล็ดแร่ไมกาตลอดหน้าตัดของดินและมวลสารพวกปูนสะสมปะปนอยู่ในดินชั้นล่างปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.5) บางบริเวณอาจพบชั้นทรายแทรกในชั้นดินล่างๆ

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณภาคกลาง กระจายตัวอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐมและเพชรบุรี ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคกลาง ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด ถั่ว และพืชผักต่างๆ

ปัญหาและข้อจำกัด :  อาจจะขาดน้ำในช่วงฤดูเพาะปลูกซึ่งทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต

ข้อเสนอแนะ : มีความเหมาะสมดีในการปลูกพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น ถ้ามีการชลประทานหรือมีแหล่งน้ำเพียงพอ ดินนี้จะเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศ ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชให้กับดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไฟท๊อปธอร่าสาเหตุโรค ใบร่วงของยางพารา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบร่วงจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phytophthora botryosa chee, Phytophthora palmivora (Butl.)
“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งานก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
วันนี้สยามคูโบต้า มีโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณวีนัด สำราญวงศ์ เกษตรกรดีเด่นระดับประเทศสาขาทำไร่ ที่มีการปลูกอ้อยแบบลดต้นทุน มีผลผลิตที่ดี และยังมีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งเพื่อสร้างเป็นอาชีพอย่างยั่งยืน ที่เกษตรกรรายอื่นสามารถปฏิบัติตามได้อย่างแน่นอน เกษตรกรปลูกอ้อยในพื้นที่กว่า 200 ไร่ ที่ ต.หินโคก อ.ลำปลาย