ข้าวพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ :
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมใน จ.พัทลุง นาปี พ.ศ. 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง หนึ่งในสามแหล่งของข้าวสังข์หยดของจังหวัด ซึ่งมีความแปรปรวนในลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรที่เก็บ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงคัดเลือกได้สายพันธุ์บริสุทธิ์มีความสูงของลำต้นสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน มีคุณภาพเมล็ดดีสม่ำเสมอ โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ในลักษณะดังกล่าวจำนวน 4 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2) เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 มีลักษณะดีกว่าสายพันธุ์เดิมในลักษณะ ความสม่ำเสมอในการสุกแก่

การรับรองพันธุ์ : กรมวิชาการเกษตร มีมติรับรองพันธุ์ชื่อสังข์หยดพัทลุง เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2550

ลักษณะประจำพันธุ์ :

  1. เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอ่อน
  2. อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 10 ก.พ. เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ (ปักดำกลางเดือนก.ย.)
  3. ทรงกอตั้ง ใบเขียว
  4. เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้ว บางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น
  5. ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 8 สัปดาห์
  6. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.3 x 2.1 x 1.7 มม.
  7. เมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง ยาว x กว้าง x หนา = 6.7 x 1.8 x 1.6 มม.
  8. ปริมาณอมิโลสต่ำ (15±2 %)

ผลผลิต : เฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น : มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะมีความนุ่มเล็กน้อย

ข้อควรระวัง :

  1. ไม่ต้านทานโรคไหม้
  2. ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว และควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ

พื้นที่แนะนำ : พื้นที่ปลูกข้าวนาปี จ. พัทลุง

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำนาดำเป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า) ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอนต้นกล้าไปปักดำในกระทงนาที่เตรียมไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิต การทำนาดำนิยมในพื้นที่ที่มีแรงงานเพียงพอ การเตรียมดินสำหรับการทำนาดำ ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่
เกษตรทฤษฎีใหม่ แนวคิดการเกษตรตามรอยพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยทำงานน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น พออยู่ พอกิน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบทความนี้ KAS (KUBOTA (Agri) Solutions) จะมาอธิบายเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าคืออะไร ต้องทำแบบไหน มีข้อดีอย่างไร จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย
กำจัดข้าวเรื้อก่อนปลูก เตรียมแปลงโดยตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วใช้โรตารี่หรือขลุบย่ำ กลบตอซัง (ไม่ควรใช้ผานไถเพราะจะกลบเมล็ดข้าวเรื้อลงใต้ดิน ยากต่อการกำจัด) จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ ล่อให้ข้าวเรื้องอกใช้ขลุบย่ำกลับข้าวเรื้อหมักไว้ 3-5 วันก่อนคราดทำเทือกปลูก