ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105

ชนิด : ข้าวเจ้าหอม

ประวัติพันธุ์ :
รวบรวมจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ ในท้องถิ่น ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คือ อ.บางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง

การรับรองพันธุ์ : รับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2502

ลักษณะประจำพันธุ์ :

  1. เป็นข้าวเจ้า ความสูงประมาณ 140 ซม.
  2. ไวต่อช่วงแสง
  3. ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวงเมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
  4. ข้าวเปลือกสีฟาง
  5. อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
  6. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.5 x 1.9 มม.
  7. เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.8 มม.
  8. ปริมาณอมิโลส 12-17 %
  9. คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต : เฉลี่ย 363 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น :

  1. ทนแล้งได้ดีพอสมควร
  2. เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี
  3. คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
  4. ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม

ข้อควรระวัง :

  1. ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และโรคใบหงิก
  2. ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน

บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ข้าว’ ผลผลิตการเกษตรอันดับหนึ่งที่เป็นอาหารหลักและสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้ไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งพันธุ์ข้าวไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเท่านั้น แต่ไทยยังมีพันธุ์ข้าวอีกหลายพันธุ์ที่สร้างรายได้ไม่น้อยเช่นกัน ในบทความนี้ KAS จะพาไปรู้จักกับ 10 พันธุ์ข้าวที่นิยมในไทย พร้อมกับลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์ให้ได้รู้กัน!
ข้าวพันธุ์ กข 79 ได้รับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 และอยู่ระหว่างการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าว รองรับพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 500,000 ไร่ ในปี 2563 กรมการข้าวจึงปรับแผนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ กข79 จำนวนหนึ่งมาใช้ในโครงการนำร่องการผลิตและตลาดข้าวนุ่มครบวงจรในพื้นที่เขตชลประทาน
พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น ประกอบด้วย 17 ธาตุ แบบออกเป็น 3 กลุ่ม ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้จากการให้น้ำและอากาศ และธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่มีอยู่ในดินในระดับหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก