ข้าวพันธุ์ กข43

ชนิด : ข้าวเจ้า

คู่ผสม : การผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1

ประวัติพันธุ์ :
ทดสอบที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ทดสอบผลผลิตในสถานีระหว่างสถานีในนาราษฎร์ โดยมีทดสอบความ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว

การรับรองพันธุ์ : กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ชื่อ กข 43 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552

ลักษณะประจำพันธุ์ :

  1. เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ความสูงประมาณ 103 ซม.
  2. อายุเก็บเกี่ยว 95 วัน
  3. ทรงก่อตั้ง ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงเอนปานกลาง
  4. เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว
  5. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.9 x 2.6 x 2.1 มม.
  6. เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.8 มม.
  7. ปริมาณอมิโลสต่ำ (18.82%)
  8. ข้าวสุกนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน
  9. ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 สัปดาห์

ผลผลิต : เฉลี่ย 561 กิโลกรัมต่อไร่

คุณค่าทางโภชนาการ : ค่าดัชนี้น้ำตาลของข้าว 67.5

ลักษณะเด่น :

  1. อายุการเก็บเกี่ยวสั้น
  2. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง :
เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกัน เพราะอาจจะเกิดความเสียหาย จากการทำลายของนกและหนูได้ ข้าวพันธุ์นี้มีลำต้นเล็ก การใส่ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้ข้าวล้มได้และข้าวพันธุ์นี้ อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่พิษณุโลก

พื้นที่แนะนำ : พื้นที่นาชลประทาน พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่นๆ และ/หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน ได้รับประทานสมุนไพรบ้างหรือไม่ อ่ะๆ อย่าเพิ่งบอกว่าไม่ เพราะหลายสิ่งรอบตัวที่รับประทานกันทุกวัน ล้วนมีสมุนไพรอยู่มากมาย ตั้งแต่พริก กระเพรา กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ไปจนถึง ใบมะกรูด แต่สมุนไพรเหล่านี้เมื่อมนุษย์รับประทานก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ตรงกันข้ามหากนำไปใช้กับ
การอนุรักษ์ดินและน้ำ นอกเหนือจากการปรับปรุงดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีสมบัติอื่น ๆ ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ในขณะเดียวกันควรมีการป้องกันหรือควบคุมความเสื่อมโทรมของดินไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุดรูรั่วหรือป้องกันการสูญเสียเนื้อดินที่ดีรวมทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารออกไป
กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว