การใช้แหนแดงในแปลงนาเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว

แหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ Anabana azollae อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ (symbiotic nitrogen fixing microorganisms) ให้มาเป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียม ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 3 – 5 % ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ เพื่อใช้ร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของแหนแดง

1. ใช้ควบคุมวัชพืชในนาข้าว ลดปริมาณการใช้แทนเคมีกำจัดวัชพืช

2. ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนการผลิตลดลง

3. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน

4. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี หากใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนาสามารถเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้ประมาณ 15%

5. สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผลอื่นๆ ได้

6. สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ ปลา และสุกรได้

ข้อแนะนำในการใช้แหนแดงในนาข้าว

1. ก่อนถึงฤดูปลูกข้าวควรเตรียมขยายพันธุ์แหนแดงโดยนำแหนแดงมาเพาะเลี้ยงไว้ให้ขยายจำนวนก่อน โดยเป็นพื้นที่ใช้เพาะต้องที่มีน้ำตลอดเวลา

2. การนำแหนแดงปล่อยลงแปลงนาต้องรักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5 – 10 เซนติเมตร

3. หลังจากดำนาไปแล้วไม่เกิน 20 วันควรหว่านแหนแดงทันทีหากเกินกว่านี้เมล็ดของวัชพืชอาจเจริญเติบโตได้เร็วกว่าและแหนแดงไม่สามารถขยายพันธุ์ครอบคลุมทั้งพื้นที่ได้ทันเวลา

4. ก่อนหว่านแหนแดงในนาข้าวควรให้ปุ๋ยข้าวครั้งแรกก่อนเนื่องจากแหนแดงก็เหมือนพืชทั่วๆไปยังคงต้องการปุ๋ยที่พอเหมาะในการเจริญเติบโต

5. แหนแดงจะขยายตัว 5 – 10 เท่าในระยะเวลา 20-30 วันซึ่งหมายถึงปริมาณการหว่านแหนแดงลงในแปลงนาควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะไม่น้อยเกินเพราะหากน้อยเกินไปแหนแดงจะขยายตัวไม่ทันเกินไปแหนแดงจะขยายตัวไม่ทัน

พื้นที่นา 1 ไร่ จะใช้แหนแดงหว่านประมาณ 50 – 100 กิโลกรัม แหนแดงจะเพิ่มปริมาณได้ถึง 2,000 – 5,000 กิโลกรัมต่อไร่

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือจากฝนตกหนักน้ำไหลบ่าท่วมฉับพลัน หรือน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ดังนั้นหลังจากน้ำลดลงระดับปกติจึงควรมีการจัดการดินที่เหมาะกับการปลูกข้าว ซึ่งความรุนแรงของความเสียหายขึ้นกับระยะ
ดินทราย – เนื้อดินมีลักษณะหยาบ (ทรายจัด) – ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก – การระบายน้ำดีมาก – พบมากในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับดินทราย ดินร่วนปนทราย – เนื้อดินค่อนข้างหยาบ – ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ – การระบายน้ำดี