การใช้มวนพิฆาต ควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช

ชื่อสามัญ  :  มวนพิฆาต หรือ มวนโล่ห์
ประเภท    :  แมลงตัวห้ำ

ความสำคัญ

มวนพิฆาตเป็นแมลงที่มีประโยชน์ทางการเกษตร เพราะเป็นตัวห้ำดูดกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร แมลงที่เป็นเหยื่อมักเป็นหนอนผีเสื้อต่างๆ หรือตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งบางชนิด มวนพิฆาตมีวงจรชีวิตที่สั้น และเลี้ยงง่ายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ของพืชผัก ไม้ดอก พืชไร่ และไม้ผลได้เป็นอย่างดี

รูปร่างลักษณะ

ระยะไข่  มวนพิฆาตจะวางไข่ ทั้งลักษณะเป็นฟองเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 20 – 70 ฟอง และสามารถวางไข่ได้สูงสุดถึง 418 ฟอง ไข่ที่วางใหม่ๆจะมีลักษณะสีขาวครีมและจะค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นสีเทาและสีเหลืองทอง เมื่อใกล้ฟักเป็นตัวอ่อน ช่วงไข่ใช้ระยะเวลา 5 – 7 วัน

ตัวเต็มวัย มีลำตัวยาวประมาณ 1.3 – 1.5 ซม. มีสีน้ำตาลดำและมีลายสีขาวปนเทากระจายทั่วด้านหลัง ส่วนปลายปีกเป็นสีน้ำตาลดำ ส่วนอกด้านหลังทั้งสองข้างจะมีลักษณะเป็นหนามแหลมยื่นออก และกลางหลังจะมีจุดขาวเรียงกันในลักษณะรูปสามเหลี่ยมเห็นได้ชัดเจน เพศผู้จะมีลักษณะเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย ตัวเต็มวัยมีอายุ 20-30 วัน

ประโยชน์

มวนพิฆาต สามารถใช้ควบคุมทำลายหนอนผีเสื้อ หนอนด้วง และหนอนเกือบทุกชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบ หนอนม้วนใบ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอมเป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

มวนพิฆาต ทำลายเหยื่อโดยการใช้ส่วนปากที่แหลมยาว แทงทำลายตัวเหยื่อ พร้อมกับปล่อยสารพิษออกมา ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จากนั้นจึงดูดของเหลวภายในลำตัวเหยื่อจนแห้งตายอย่างรวดเร็ว มวนพิฆาตสามารถทำลายหนอนผีเสื้อได้ 4-5 ตัว/วัน และตลอดชั่วอายุขัย โดยสามารถทำลายหนอนมากกว่า 200 ตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน ได้รับประทานสมุนไพรบ้างหรือไม่ อ่ะๆ อย่าเพิ่งบอกว่าไม่ เพราะหลายสิ่งรอบตัวที่รับประทานกันทุกวัน ล้วนมีสมุนไพรอยู่มากมาย ตั้งแต่พริก กระเพรา กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ไปจนถึง ใบมะกรูด แต่สมุนไพรเหล่านี้เมื่อมนุษย์รับประทานก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ตรงกันข้ามหากนำไปใช้กับ
ด้วงหนวดยาว จัดเป็นแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญต่อการปลูกอ้อย โดยสามารถเข้าทำลายอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยหนอนของด้วงหนวดยาวจะเข้าไปในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทำให้อ้อยแห้งตาย ในอ้อยปลูกหากพบด้วงหนวดยาวเข้าทำลายจะส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43 % และน้ำตาลลดลง 11-46 % ส่วนอ้อย