การผลิตและใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อการควบคุมโรคพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoderma harzianum

วงศ์ (Family) :  Moniliaceae

อันดับ (Order) :  Hypocreales

ประโยชน์และความหมาย

เชื้อราไตรโครเดอร์มา (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน โดยอาศัยซากพืช  ซากสัตว์ และอินทรียวัตถุเป็นอาหาร สร้างเส้นใยสีขาวและสปอร์มีสีเขียว จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ ที่มีประโยชน์  ที่ใช้สำหรับใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ปัจจุบันเกษตรกรสามารถผลิตขยายสำหรับใช้เองได้ด้วยอุปกรณ์ และวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นการลดต้นทุนการผลิต ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งยังปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เชื้อราไตรโครเดอร์มาควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ดังนี้

กลไกในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช

–  เจริญแก่งแย่งอาหาร อากาศ น้ำ เนื่องจากสามารถสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว และสร้างสปอร์ในปริมาณสูง ทำให้ครอบครองพื้นที่เพื่อการดำรงชีวิตได้ดี จึงทำให้เชื้อราสาเหตุโรคพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อ่อนแอจนไม่สามารถทำลายพืชได้

–  การเป็นปรสิต เป็นกลไกในการเบียดเบียนด้วยการสร้าง เส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชตาย

–  การสร้างสารพิษ สารปฏิชีวนะหรือน้ำย่อย (เอนไซม์) ที่เป็นพิษ หยุดยั้งและทำลายเส้นใยเชื้อราโรคพืช

–  การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรงช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตได้ดี และกระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรคขึ้นภายใน

การผลิตขยายเชื้อราไตรโครเดอร์มาอย่างง่าย ดังนี้

1.  หัวเชื้อราไตรโครเดอร์มา         2.  หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3.  ข้าวสารเจ้า 3 ส่วน         4.  ยางรัด
5.  น้ำสะอาด 2 ส่วน         6.  เข็มหมุด
7.  ถุงพลาสติกทนร้อน 8 x 12 นิ้ว         8.  เครื่องชั่ง

วิธีการ

1.  หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า โดยใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน เมื่อหุงแล้วข้าวจะมีลักษณะแข็งเป็นแกน

2.  ตักข้าวใส่ถุง ในขณะที่ยังร้อน ปริมาณ 250 กรัม พับปากถุงวางรอให้ข้าวเย็นลง

3.  เทหัวเชื้อราไตรโครเดอร์มาใส่ถุงประมาณ 1-2 ช้อนชา (หัวเชื้อในข้าวฟ่าง)

4.  รัดปากถุงให้แน่น โดยให้มีพื้นที่ในถุงมากที่สุดและคลุกเชื้อราไตรโครเดอร์มา ให้กระจายทั่วข้าว

5.  ใช้เข็มหมุดเจาะรู ประมาณ 15-20 รู บริเวณใต้ยางรัดเพื่อให้อากาศเข้า

6.  พักเชื้อไว้ 2-3 วัน ขยำเชื้อราให้กระจายตัวอีกครั้ง บ่มจนครบ 7 วัน เชื้อราจะมีสีขาวเต็มถุง  จึงสามารถนำไปใช้ได้

วิธีใช้

         ผสมปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมเชื้อราไตรโครเดอร์มา 1 กก. ผสมรำอ่อน 5 กก. และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 กก. ใช้รองก้นหลุมปลูก 1 กำมือ หรือหว่านรอบโคนต้น หากต้องการนำไปผสมกับวัสดุเพาะให้ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาที่ผสมแล้ว 1 ส่วน ผสมกับวัสดุเพาะ 4 ส่วน

ผสมน้ำฉีดพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มา 1 กก. (4 ถุง) ต่อน้ำ 100 ลิตร กรองเฉพาะน้ำสปอร์ ในน้ำ 2-3 ลิตร แล้วจึงเติมน้ำที่เหลือจนครบ 100 ลิตร ผสมสารจับใบ พ่นใบตอนเย็นทุก 7 – 14 วัน

คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกเชื้อราไตรโครเดอร์มา 1-2 ช้อนแกง/ เมล็ดพันธุ์ 1 กก. (ใส่ถุงหรือภาชนะ เติมน้ำเล็กน้อย หรือสารจับใบ) คลุกเคล้าให้เข้ากัน ผึ่งสักครู่ก่อนนำไปหว่าน ช่วยกระตุ้นให้ระบบรากแข็งแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำเกษตรแบบดั้งเดิมนั้น ภายหลังจากการเกี่ยวข้าว เกษตรกรบางส่วนจะนิยมเผาตอซังและฟางข้าว เนื่องจากเป็นวิธีกำจัดฟางข้าว เพื่อจัดการพื้นที่นาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม การเผาตอซังและฟางข้าวนั้น กลับส่งผลกระทบหลายด้านด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านโครงสร้างของดินที่เปลี่ยนไป เพราะเป็นการทำลาย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นพืชไร่อันดับต้นๆที่นิยมปลูกในประเทศไทย และนอกจากนั้นไทยยังเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศที่มีความสามารถในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูก
ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละส่วนโดยฮอร์โมนพืชมีทั้งชนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโต และระงับการเจริญเติบโต ฮอร์โมนพืชไม่ใช่สารอาหารของพืช แต่เป็นสารเคมีที่พืชใช้ในปริมาณน้อย ๆ เพื่อส่งเสริมและควบคุมการเติบโตของพืช ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของเซลล์และเนื้อ