การป้องกันชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้หญ้าแฝก

มันสำปะหลัง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นดินเนื้อหยาบและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ สภาพพื้นที่ มีลักษณะเป็นพื้นที่มีความลาดชัน จึงมักเกิดปัญหาเรื่องการชะล้างพังทลายของดินสูง เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเรื่อย ๆ หากไม่มีการป้องกันการชะล้าง จะเกิดการสูญเสียหน้าดินและธาตุอาหารของพืชไปเป็นจำนวนมาก

ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่

  • กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี พันธุ์กำแพงเพชร 2 พันธุ์ศรีลังกา พันธุ์สงขลา 3 และพันธุ์พระราชทาน ฯลฯ
  • กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี พันธุ์ประจวบคีรีขันธ์ พันธุ์ร้อยเอ็ด พันธุ์กำแพงเพชร 1 พันธุ์นครสวรรค์ และพันธุ์เลย เป็นต้น

ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก

การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้

  • มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง  
  • มีการแตกหน่อและใบใหม่ จึงไม่จำเป็นต้องดูแลมาก
  • หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
  • ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
  • มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
  • ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
  • บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
  • ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
  • ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

วิธีการปลูกหญ้าแฝก

เพื่อการป้องกันชะล้างพังทลายของดินและเพื่อชะลอความเร็วของน้ำและดักตะกอนของดิน โดยทำการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดียวตามแนวระดับความลาดเทของพื้นที่ ระยะห่างระหว่างต้น 10 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร (พิจารณาตามความลาดเทของพื้นที่) ไถและปลูกมันสำปะหลังตามแนวหญ้าแฝก

การขยายพันธุ์หญ้าแฝก

ขุดกอหญ้าแฝกที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป แล้วนำมาตัดใบและรากให้เหลือความยาว 20 เซนติเมตร โดยแยกหน่อออก ล้างน้ำ มัดรวม นำไปแช่น้ำ ระดับน้ำประมาณ 5 เซนติเมตร นาน 3 – 5 วัน กรณีที่น้ำผสมฮอร์โมนแร่งราก แช่เพียง 1 วัน แล้วนำมาวางเรียงในพื้นที่มีแสงแดรำไร โดยใช้ใบหญ้าแฝกหรือกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มโคนเป็นเวลา 3 – 5 วัน หญ้าแฝกจะแตกรากและหน่อ จึงนำไปชำในถุงหรือปลูกในแปลงต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวร้อยละ 50 ของพื้นที่ทำการเกษตร ทำรายได้ปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามเกษตรกรในเขตพื้นที่ชลประทานนิยมปลูกข้าวมากกว่า 2 ครั้งต่อปี หรือปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกิดวิกฤติการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในการปลูกข้าว อีกทั้งการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องกระทบต่อระบบนิเวศน์
การทำนาเปียกสลับแห้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น พร้อมตอบโจทย์การทำนาแบบรักษ์โลก ซึ่งการทำนาเปียกสลับแห้งทำอย่างไร มีข้อดีแบบไหน ศึกษาการเป็นชาวนารักษ์โลกไปพร้อมกับ KAS ได้ในบทความนี้
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบหรือตัด สับ ต้น ในและส่วนต่างๆ ของพืชในขณะที่ยังสด ปกตินิยมใช้พืชตระกูลถั่ว เพื่อเจริญเติบโตเร็ว ขึ้นได้ในดินหลายชนิด ที่สำคัญคือ พืชตระกูลถั่วสามารถจับหรือตรึงธาตุไนโตรเจน(ที่เป็นธาตุอาหารหลักของพืชจากอากาศได้) โดยไถกลบในช่วงออกดอกซึ่งเป็น