การประหยัดต้นทุนด้วยการลดแผ่นกล้าในพื้นที่ จ.เชียงราย

การปลูกข้าวด้วยการทำนาดำเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า สามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรสามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำนาดำโดยเฉพาะ ช่วยให้ทำงานได้อย่างสะดวกสบาย งานเสร็จไว รวดเร็วทันใจ พร้อมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนได้อีกด้วย

และเพื่อให้เกษตรกรผู้ทำนาดำสามารถลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น สยามคูโบต้าจึงได้ทำการวิจัยและส่งเสริมให้เกษตรกรมีลดการใช้แผ่นกล้า ด้วยการขยายระยะห่างระหว่างกอข้าวตามความเหมาะสมของพันธุ์ข้าว เพื่อช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงทั้งรากและลำต้น  ที่สำคัญ คือ ต้นข้าวสามารถแตกกอได้ดี ออกรวงได้อย่างเต็มที่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

หนึ่งในพื้นที่ที่สยามคูโบต้าได้เข้าไปส่งเสริม นั่นคือ จ.เชียงราย โดยใช้รูปแบบการทำแปลงเปรียบเทียบระหว่างวิธีดั้งเดิมของเกษตรกรและวิธี KAS ด้วยการใช้พันธุ์ข้าว กข 49 และมี คุณวิเศษ ทองงา หรือที่ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า พ่อเศษ เกษตรวัย 58 ปี เป็นผู้ร่วมทำแปลงทดสอบกับสยามคูโบต้าในครั้งนี้ ระหว่างเดือนเมษายน – พฤศจิกายน ในปีที่ผ่านมา

พ่อเศษ เผยว่า แปลงทดสอบของตนเองนั้น ใช้ระยะห่างระหว่างกอข้าวอยู่ที่ 18×30 เซนติเมตร ซึ่งแต่ละกอใช้จำนวนต้นกล้าต่อหลุมจำนวน 7-10 ต้น ทำให้ใช้แผ่นกล้าไปประมาณ 45-50 แผ่น/ไร่ และใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งเมื่อข้าวเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตนเองสังเกตเห็นว่า ต้นข้าวเบียดเสียดกันแน่น ทำให้ข้าวแตกกอได้น้อย ส่งผลให้ได้ผลผลิตอยู่ที่ 681 กิโลกรัม/ไร่ และใช้ต้นทุนไปประมาณ 6.8 บาท/กิโลกรัม

สำหรับแปลงทดสอบด้วยวิธี KAS ได้มีการขยายระยะห่างระหว่างกอข้าวอยู่ที่ 24×30 เซนติเมตร ใช้จำนวนต้นกล้าต่อหลุมประมาณ 3-5 ต้น เพื่อให้แสงสว่างส่องผ่านได้ทั่วถึงพื้นดิน ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี  และสามารถเข้าไปบำรุงรักษาและดูแลข้าวได้ง่าย รวมทั้งยังทำให้การกำจัดข้าวดีดข้าวเด้งได้สะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ การขยายระยะห่างระหว่างกอข้าวยังช่วยลดและป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืช การระบาดของโรค และแมลงศัตรูข้าว ส่งผลให้ลดการใช้แผ่นกล้าเหลือเพียงจำนวน 23 แผ่น/ไร่ และใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ ได้ผลผลิตอยู่ที่ 908 กิโลกรัม/ไร่ และใช้ต้นทุนไปประมาณ 3.8 บาท/กิโลกรัม

“เมื่อก่อนผมหมดค่าปุ๋ยไปเยอะครับ เพราะไม่รู้วิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง แต่พอเห็นทีมงานจากสยามคูโบต้ามาสอนวิธีการใส่ปุ๋ยสั่งตัด และมีการวิเคราะห์ดิน จึงช่วยให้ผมรู้ว่าดินของผมมีธาตุอาหารเท่าไหร่ ต้องใส่ปุ๋ยชนิดใดบ้าง ทำให้ใส่ปุ๋ยให้ตรงตามความต้องการของข้าวในแต่ละระยะครับ พอเห็นผลลัพธ์จากแปลง KAS ก็ยิ่งรู้สึกมั่นใจ เพราะลดต้นทุนลงไปเยอะ แต่ได้ผลผลิตที่มากกว่าเดิม ขอบคุณทีมงานทุกคนนะครับที่มาช่วยแนะนำและให้ความรู้เรื่องการลดแผ่นกล้าครับ”พ่อเศษ กล่าวเพิ่มเติม

จากความสำเร็จในครั้งนี้ สยามคูโบต้ายังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและให้คำแนะนำเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ทำการเกษตรให้สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งเกษตรกรท่านใด ที่สนใจวิธีการทำนาดำ  ทางสยามคูโบต้าเอง ยังมีศูนย์พันธุ์กล้าแผ่นคูโบต้า กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 62 แห่งทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรผู้ใช้รถดำนาคูโบต้า ได้มีแหล่งผลิตกล้าแผ่นที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน เพื่อใช้ในการปักดำ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวยังได้มาตรฐานตามที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกำหนดด้วย

หมายเหตุ: ตัวเลขทั้งหมดได้จากการเก็บข้อมูลจากแปลงส่งเสริมของสยามคูโบต้า และแปลงของพ่อเศษ เกษตรกรเจ้าของแปลง โดยผลการทดสอบอาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ การระบาดของโรคและแมลง การระบาดของวัชพืช อัตราค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่ พฤติกรรมการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ การเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูก และปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่และในแต่ละปี รวมทั้งขึ้นอยู่กับผลค่าวิเคราะห์ดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำนาเปียกสลับแห้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น พร้อมตอบโจทย์การทำนาแบบรักษ์โลก ซึ่งการทำนาเปียกสลับแห้งทำอย่างไร มีข้อดีแบบไหน ศึกษาการเป็นชาวนารักษ์โลกไปพร้อมกับ KAS ได้ในบทความนี้
จุดกำเนิด ของการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงโคนมในระบบอินทรีย์ของประเทศไทย เริ่มต้นจากกระแสการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรต้องการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ และอากาศ รวมถึงการตอบแทนคุณแผ่นดินซึ่งเป็นที่ทำกินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ
การปลูกอ้อยน้ำน้อย เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ศึกษาดูงานจากต่างประเทศและทำการวิจัยเพื่อปรับให้สามารถใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยหลักการคือ ต้องการบริหารจัดการน้ำภายในแปลงอ้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากข้อมูลสถิติที่ทาง สสนก. ศึกษาพื้นที่ ต.ซับสมบูร