การทำนา ฉบับสยามคูโบต้า

การทำนาดำในปัจจุบันมีหลายวิธีการในการผลิต และยังมีการนำเครื่องจักรกลต่างๆมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น หากเกษตรกรเลือกวิธีการและการใช้เครื่องจักรกลไม่เหมาะสมกับการทำงาน จะส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย และต้นทุนในการผลิตสูง  ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการผลิตและการเลือกใช้เครื่องจักรกลให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ขั้นตอนการเตรียมดิน

ปัจจุบันเกษตรนิยมเผาตอฟางข้าว เพื่อเร่งรอบการทำนา ส่งผลให้พื้นนาไม่เรียบ ไม่สามารถคุมระดับน้ำได้ ถ้าหากเกษตรก้าวสู่ขั้นตอนการเตรียมดินที่ดีตามฉบับสยามคูโบต้า จะสามารถควบคุมคุณภาพการเตรียมดินได้ พื้นที่นามีขนาดเหมาะสม สามารถทำงานได้ง่าย และสามารถควบคุมระดับน้ำได้สม่ำเสมอ โดยขั้นตอนการเตรียมดินที่ดี ประกอบด้วย

ขั้นตอนที่ 1 การไถกลบตอซัง  ให้ทำการไถกลบตอซังขณะฟางยังสด จะช่วยให้ฟางย่อยสลายง่าย จากนั้นหมักฟางทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน

เครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการไถกลบตอซัง   คือ แทรกเตอร์รุ่น L32-50 แรงม้า ต่อพ่วงด้วยจอบหมุนรุ่น RX183 สามารถปั่นขวางรอยรถเกี่ยวได้ ซึ่งจะช่วยให้ปั่นได้ง่าย และเศษฟางไม่ติดใบจอบหมุน

ขั้นตอนที่ 2 การไถพรวน   เป็นการไถพรวนเพื่อให้ดินละเอียด เป็นเลน ทำลายเศษวัชพืชซึ่งจำนวนครั้งของการไถพรวนขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช

เครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการไถพรวน   คือ แทรกเตอร์ รุ่น L32-50 แรงม้า ต่อพ่วงด้วย 

ผานพรวน

ขั้นตอนที่ 3 ขลุบ ลูบเทือก ชักร่อง   เพื่อย่ำตอซังและเศษวัชพืชที่ยังเหลืออยู่บนผิวดิน และลูบหน้าดินให้เรียบและปรับระดับดินให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง

เครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการทำขลุบ และลูบเทือก     คือ แทรกเตอร์ L32-50 แรงม้า ต่อพ่วงด้วยขลุบหมุนรุ่น RH241 สามารถขลุบดินละเอียด ลูบดินเรียบ และได้งานไว

ขั้นตอนการเพาะปลูก

เกษตรกรนิยมทำนาดำโดยวิธีการหว่าน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ต้นทุนในการผลิตสูง เนื่องจากใช้เมล็ดพันธุ์ถึง 30 กิโลกรัมต่อไร่ และมักเกิดปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ถ้าหากเกษตรเปลี่ยนจากการทำนาหว่านเป็นการทำนาดำ  โดยการนำต้นกล้าที่มีอายุเหมาะสมนำมาปักดำด้วยรถดำนาสามารถปรับตั้งระยะปลูกระหว่าง

ต้นได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถดูแลต้นข้าวได้ง่าย  แก้ไขปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ได้อย่างยั่งยืน  และลดทุนด้านเมล็ดพันธุ์เนื่องจากวิธีนาดำนี้ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 10 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนั้นผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวนั้น ควรเก็บเกี่ยวที่ระยะพลับพลึงอายุประมาณ 28-30 วันหลังจากที่ข้าวออกรวงซึ่งเป็น

ระยะที่ข้าวสะสมน้ำหนักสูงสุด และควรปล่อยน้ำออกจากแปลงให้แห้งก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 10 วัน เพื่อให้รวงข้าวสุกแก่พร้อมกัน ซึ่งจะสะดวกต่อการทำงานของรถเกี่ยวนวด หากเกษตรกรเลือกใช้ใช้รถเกี่ยวนวดที่มีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้ข้าวร่วงหล่น พื้นที่นาเสียหาย และประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวลดลง ดังนั้นควรเลือกใช้รถเกี่ยวนวดที่มีน้ำหนักเบา จะไม่ทำให้เกิดนาหล่ม และร่องหล่มลึกได้

ขั้นตอนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

หลังจากการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะทำการเผาฟางข้าว เป็นวิธีการที่ทำลายความสมบูรณ์ของหน้าดิน ทำลายจุลินทรีย์หน้าดินที่มีประโยชน์ และทำลายสิ่งแวดล้อม หากเกษตรกรจัดการฟางที่ดีโดยการอัดก้อนเพื่อจำหน่าย หรือใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน  จะเป็นวิธีที่สามารถลดโลกร้อน และส่งผลให้โครงสร้างดินไม่เสื่อมสภาพได้

การทำนาดำตามฉบับสยามคูโบต้านั้นจะเห็นได้ว่าเป็นวิธีที่สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกวิธีหนึ่ง หากเกษตรกรต้องการข้อมูลการเพาะปลูกข้าวและการดูแลรักษาข้าวเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ www.kubotasolutions.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้
สาเหตุเชื้อรา Bipolaris oryzae ชื่อเดิม Helminthosporium oryzae (Breda de Haan.) Shoemaker, 1959 ลักษณะอาการ จะเกิดแผลที่ใบข้าว โดยพบมากในระยะแตกกอ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลรูปกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกของใบแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1- 2
ผีเสื้อหนอนกระทู้กล้า Spodoptera mauritia (Boisduval) เป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล ความกว้างของปีกกางออกประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร