การจัดการการปนในข้าวแดงหอม (Red Hawm Rice)

เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้

  1. ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใกล้กับพันธุ์ข้าวที่มีวันออกดอกต่างกันน้อยกว่า 15 วัน
  2. การปลูกข้าวควรมีการตรวจ และตัดข้าวปนออก ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของข้าวแต่ละพันธุ์
  3. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นวด ตาก ทำความสะอาด และการขนส่งทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนไปใช้กับข้าวพันธุ์อื่น
  4. ควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวแดงได้โดยเฉพาะ
  5. ควรเป็นการผลิตแบบครบวงจรโดยมีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก และมีนักวิชาการด้านพันธุ์ข้าวคอยดูแล ให้คำแนะนำในขั้นตอนการผลิต

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch.) มักจะพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอกทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยเกาะกินอยู่มากจะทำให้ช่อดอกไม่บาน
ทำไมยางพาราที่ปลูกภาคอีสานจึงยืนต้นตายตอนหน้าแล้ง คงต้องอธิบายก่อนว่ายางพาราและไม้ยืนต้นอื่นๆ เจริญเติบโตตามความลึกของราก รากยิ่งลึกต้นก็ยิ่งสูง และยิ่งเจริญเติบโตดี แต่ภาคอีสานมีชั้นหน้าดินน้อย ดินดานหรือชั้นทรายแป้งอยู่ในระดับสูง จึงทำให้รากไม่สามารถแทรกลงลึกไปในดินได้ สิ่งที่เห็นก็คือต้นยางพารา
ดินเค็ม เป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเพาะปลูก เนื่องจากมีปริมาณเกลือที่ละลายได้อยู่ในดินมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินเค็มที่มีปริมาณโซเดียมมากเกินไป ได้แก่ ดินโซดิก และดินเค็มโซดิก จะทาให้สมบัติทางกายภาพของดินเสีย อนุภาคดินไม่เกาะตัว เกิดการฟุ้งกระจายได้ง่าย ดินแน่น