หนอนเจาะฝักข้าวโพด

ชื่ออื่น : หนอนเจาะสมอฝ้าย American cotton bollworm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliothis armigera (Hübner)

วงศ์ : Noctuidae

อันดับ : Lepidoptera

หนอนเจาะฝักข้าวโพด :

เป็นศัตรูที่ทำให้ข้าวโพดเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน  ซึ่งมีความอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืช การทำลายจะกัดกินไหมข้าวโพดและเจาะทำลายที่ปลายฝักข้าวโพด เป็นสาเหตุให้พืชได้รับความเสียหาย และเสียราคา มักพบหนอนเจาะฝักข้าวโพด เมื่อข้าวโพดเริ่มออกดอก ระยะนี้หนอนจะเกาะกินอยู่ที่ช่อดอก และเมื่อข้าวโพดออกฝักมักพบตัวหนอนกัดกินที่เส้นไหมของ  ฝักอ่อน แล้วจะกัดกินบริเวณปลายฝักต่อไป 

รูปร่างลักษณะ :

การทำลายพืชจะเกิดขึ้นในระยะตัวหนอน สำหรับตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืน จะวางไข่เท่านั้น และเป็นชนิดเดียวกับหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า หนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน 

ลักษณะตัวหนอน :

ลำตัวของตัวหนอน จะมีขนขึ้นประปราย ลายพาดยาวบริเวณลำตัวซึ่งเห็นได้ชัดเจน ตัวหนอนมีสีเหลือง สีเขียวอ่อน ไปจนถึงสีค่อนข้างดำ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม อายุ และการลอกคราบ ในระยะตัวหนอนมักจะอยู่รวมกัน แต่เมื่อโตขึ้นจะไม่อยู่ใกล้กันเพราะจะกัดกินกันเอง ขนาดของหนอนโตเต็มที่ จะมีความยาว 35 – 40 มม. กว้าง 3 มม. มีสีแตกต่างกันหลายสี เช่น เหลือง น้ำตาล ชมพู ขาวนวล เขียว ดำและเทา เป็นต้น และมีแถบสีดำใหญ่ขนาด 0.5 – 1.0 มม. พาดตามความยาวด้านข้างๆละเส้น รูหายใจรูปวงแหวนสีดำอยู่ด้านข้างทั้ง 2 ข้างของทุกปล้อง ส่วนหัวมีสีเหลืองน้ำตาล โดย หนอนจะเข้าดักแด้ในตอนกลางคืน เมื่อเข้าดักแด้ใหม่จะมีสีเขียว ตัวนิ่มแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง น้ำตาล ผิวแข็งแรงขึ้นและเป็นสีน้ำตาลก่อนจะออกเป็นตัวเต็มวัย โดยตัวเต็มวัยหรือผีเสื้อจะซ่อนตัวอยู่ตามซอกใบ จะออกหากินในเวลาพลบค่ำ

ผีเสื้อจะวางไข่ในที่มืดหรือเวลากลางคืน :

การวางไข่ใบเดี่ยวๆตามใบพืช ส่วนมากพบตามไหมข้าวโพดและตามยอดพืช ไข่มีสีเหลืองนวล หรือ เหลืองครีม เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.5 – 0.6 มม. ค่อนข้างกลมคล้ายฝาชี มีริ้วหยักจากยอดสู่ด้านที่ติดใบพืช ก่อนจะฟักเป็นตัวหนอน ไข่จะเปลี่ยนเป็น  สีเข้มขึ้นโดยตัวแม่ผีเสื้อวางไข่ได้เฉลี่ย 1,100 ฟอง 

ชีพจักรของหนอนเจาะฝักข้าวโพด ดังนี้

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด :

จะพบแมลงชนิดนี้อยู่ทั่วไปที่มีการปลูกฝ้าย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ยาสูบ มะเขือเทศ และถั่วต่างๆ เพราะเป็นแมลงที่สามารถกินอาหารได้หลายอย่าง และมักจะระบาดในฤดูที่มีการปลูกฝ้าย โดยเฉพาะตอนออกสมอ สำหรับข้าวโพดนั้นจะมีการระบาดจำนวนมากในระยะที่ข้าวโพดเริ่มออกฝักหรือออกฝักแล้ว ระยะที่ทำอันตรายข้าวโพดได้มากคือระยะที่ฝักอ่อน

ศัตรูธรรมชาติ :

ในธรรมชาติจะมีแมลงศัตรูที่คอยทำลายไข่ของหนอนเจาะฝักข้าวโพด คือ

  1. แตนเบียนไข่ Trichogramma chilotreaeT.chilonisT.australicum
  2. แมลงวันก้นขน (tachinid fly)
  3. แตนเบียนหนอน (Braconid)
  4. แมลงช้างปีกใส (Green Lacewing)

การป้องกันกำจัด :

ตัวหนอนชนิดนี้จะเข้าทำลายในระยะที่ข้าวโพดออกดอกแล้ว โดยอาศัยกัดกินที่ช่อดอกตัวผู้ และเส้นไหมของฝัก จึงควรหมั่นตรวจสอบดูว่ามีหนอนเกิดขึ้นหรือยัง หากพบหนอน 1 ตัวต่อต้น  ในข้าวโพดจำเป็นต้องป้องกันกำจัด วิธีที่ดีที่สุดคือการจับหนอนทิ้ง หากจำเป็นต้องพ่นสารฆ่าแมลงควรใช้ในระยะหนอนยังเล็กอยู่จึงจะได้ผลดี โดยใช้สารฆ่าแมลง ดังนี้

  • Fipronil (Ascend 5%SC) อัตรา 20 มล./น้ำ 20ลิตร
  • Biferthin (Talstar 10% EC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20ลิตร
  • Flufenoxuron (Cascade 5% EC) อัตรา 20 มล./น้ำ 20ลิตร
  • Methomyl (Lannate 90% WP) อัตรา 11 กรัม/น้ำ 20ลิตร
  • Monocrotophos (Azodrin 56% EC) อัตรา 18 มล./น้ำ 20 ลิตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยต่างทราบกันดีว่าหากเกิดภัยแล้ง จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อยเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกษตรกรหลายรายพยายามหาวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาอ้อยขาดน้ำ โดยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นในการปลูกอ้อย เช่น การใช้แทรกเตอร์พ่วงด้วยแทงค์น้ำทำการรดน้ำหลังการเพาะปลูกอ้อย
ปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ทุกธุรกิจล้วนแล้วแต่นำเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาที่พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพ ลดระยะเวลา และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาเรื่องการขาดแรงงาน โดยเฉพาะภาคเกษตร ปัญหาด้านการขาดแรงงานทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ทำให้ต้นทุนเรื่องแรงงานกลายเป็นต้นทุนหลักของการทำธุรกิจการ