ระวังเพลี้ยกระโดดท้องขาวในข้าวโพดศัตรูพืชชนิดใหม่

เพลี้ยกระโดดท้องขาว หรือเพลี้ยกระโดดข้าวโพด (White-Bellied Planthopper, Corn Planthopper) โดยเพลี้ยกระโดดท้องขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกาบใบ ทำให้ต้นข้าวโพดชะงักการเจริญเติบโต หากระบาดรุนแรงทำให้เกิดอาการใบไหม้ นอกจากนี้ยังขับถ่ายมูลหวาน ลงบนต้นพืชเป็นสาเหตุทำให้เกิดราดำ

รูปร่างลักษณะ :

ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลอ่อน ปีกค่อนข้างใส เพศเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเพศผู้ บริเวณส่วนท้องด้านล่างของเพศผู้จะมีสีน้ำตาลส้ม ส่วนของเพศเมียจะมีลักษณะของไขหรือขี้ผึ้งสีขาวเคลือบอยู่ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพลี้ยกระโดดท้องขาว” หรือ White-Bellied Planthopper นั่นเอง

วงจรชีวิต :

จากการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย พบว่าเพลี้ยกระโดดท้องขาว มีวงจรชีวิตอยู่ที่ประมาณ 38-47 วัน โดยเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ แทงทะลุเนื้อเยื่อพืชเพื่อวางไข่บริเวณเส้นกลางใบและกาบใบ จากนั้นเพศเมียจะทำการขับสารที่มีลักษณะคล้ายไขขี้ผึ้งสีขาวปกคลุมไข่เพื่อป้องกันอันตราย ซึ่งสารสีขาวนี้จะพบในส่วนท้องของเพศเมียเท่านั้น ตัวอ่อนวัยแรกที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะมีสีลำตัวค่อนข้างขาว และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนเขียวในวัยที่ 2 จากนั้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะตัวอ่อนวัยที่ 3 – 4 และสีน้ำตาลอ่อนอมส้มในระยะตัวเต็มวัย 

ลักษณะการทำลาย :

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกาบใบ ทำให้ต้นข้าวโพดชะงักการเจริญเติบโต หากระบาดรุนแรงทำให้เกิดอาการใบไหม้ (hopperburn) นอกจากนี้ยังขับถ่ายมูลหวาน ลงบนต้นพืชเป็นสาเหตุทำให้เกิดราดำ ขึ้นปกคลุมส่วนต่างๆทำให้บดบังพื้นที่สังเคราะห์แสงของพืช พืชจึงสังเคราะห์แสงได้ลดน้อยลง เพลี้ยกระโดดชนิดนี้ทำให้เกิดปมตามเส้นใบและใต้ผิวใบอีกด้วย ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลงถึง 52.2% โดยผลผลิตที่ได้จากข้าวโพดที่ถูกเพลี้ยกระโดดท้องขาวเข้าทำลายนั้น จะมีฝักที่ลีบเล็ก เมล็ดมีน้ำหนักน้อย เปราะและแตกหักได้ง่ายเมื่อนำไปเข้าเครื่องกะเทาะเมล็ด 

พืชอาหาร : ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หญ้าโขย่ง หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา สำหรับในประเทศไทยเคยมีรายงานว่าพบเพลี้ยกระโดดชนิดนี้ในนาข้าวแต่ไม่ใช่ศัตรูที่สำคัญ 

เขตการแพร่กระจาย : ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย

การป้องกันกำจัด

  1. เบื้องต้นควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกข้าวโพดอย่างสม่ำเสมอหากพบปุยสีขาวคล้ายขี้ผึ้งเกาะอยู่บริเวณเส้นกลางใบหรือกาบใบแสดงว่าเริ่มมีการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดท้องขาว
  2. หากพบการระบาดรุนแรง ให้เลือกใช้สารกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สารฟลอนิคามิค 50% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สารฟลอนิคามิค 50% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบ Modern Farm เริ่มต้นมาอย่างไร คุณกิมเพชร กล่าวต่อไปว่า การเตรียมแปลงปลูกนั้นก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้อ้อยสามารถเจริญเติบโตได้ดี ที่ไร่ด่านช้างได้มีการใช้ระบบเข้ามาควบคุมการทำร่องเพื่อกำหนดขนาดของร่องได้ทันที ที่ไร่ด่านช้างแห่งนี้มีการกำหนดขนาดร่องปลูกเอาไว้ที่ 1.85 เมตร โดยที่ร่องปลูกนั้นจะมี
ชื่ออื่น : หนอนเจาะสมอฝ้าย American cotton bollworm ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliothis armigera (Hübner) วงศ์ : Noctuidae อันดับ : Lepidoptera หนอนเจาะฝักข้าวโพด : เป็นศัตรูที่ทำให้ข้าวโพดเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน ซึ่งมีความอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืช การทำลายจะกัดกินไหมข้าวโพดและเจาะทำลายที่ปลายฝัก