ปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวและการแก้ไขสำหรับข้าวโพดฝักอ่อน

ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้ นอกจากนี้อาการช้ำที่เกิดจากการบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการปฏิบัติการอื่น ๆ ทําให้ง่าย ต่อการที่เชื้อราบางชนิดเข้าทําลายได้ง่ายขึ้น ข้าวโพดฝักอ่อนเมื่อนำมาเก็บรักษาไว้ระยะหนึ่งไม่ว่า จะในสภาพอุณหภูมิห้องหรือในห้องเย็น ก็จะเกิดการเน่าเสียเกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อรา เช่น โรคฝักเน่า (Ear Rot) สาเหตุจากเชื้อ Helminthosporium maydis, Fusarium spp; Rhizopus spp., Aspergillus spp.Penicillium spp. และโรคราเขม่าดํา สาเหตุจากเชื้อ Ustilago maydis นอกจากนี้ยังพบเชื้อบัคเตรีบางชนิดที่ทําให้เกิดอาการฝักเน่าและบวมกับข้าวโพดฝักอ่อนได้ สําหรับแนวทางในการแก้ไข สามารถทําได้โดย

1. หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลหรือความชอกช้ำบนฝัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปอกเปลือกตลอดจนการบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การปฏิบัติอื่น ๆ หลังการเก็บเกี่ยว

2. การทำความสะอาดเพื่อลดปริมาณของเชื้อราตามที่ต่าง ๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ มีด หรือภาชนะที่ใช้ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุหีบห่อ และการทำความสะอาดห้องเก็บรักษา (ห้องเย็น) ในรูปของแก๊สหรือใช้สารละลายที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคที่ภายนอก เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) อัตรา 1-2 % ในน้ำฉีดพ่นหรือใช้โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์ เป็นต้น

3. การลดอุณหภูมิของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว และการรักษาผลิตผลไว้ในอุณหภูมิดังกล่าว จะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และทำให้การสูญเสียน้ำและความหวานลดลง

4. ในการปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดฝักอ่อนในแปลงปลูก ต้องดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งให้หมด ก่อนที่ข้าวโพดจะมีโอกาสผสมเกสร เพื่อป้องกันอาการเมล็ดบวมขึ้นภายหลัง

5. การบรรจุหีบห่อ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการป้องกันผลิตผลให้มีคุณภาพดี และยังทําให้เป็นที่ดึงดูดใจผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น การบรรจุข้าวโพดอ่อนในปริมาณมากเกินไปในกล่องเดียวกัน ก็จะทําให้ผลิตผลได้รับความเสียหายและเน่าเสียเร็วยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในยุคปัจจุบันที่สภาพอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชผักลำบากมากขึ้น การปลูกผักในโรงเรือนจึงอาจะเป็นทางออกที่ดี ที่มีประสิทธิภาพที่สูง และตอบโจทย์วิกฤตที่เกษตกรกำลังเผชิญอยู่ได้ มาเรียนรู้เทคนิคการปลูกผักในโรงเรือน สร้างผลผลิตได้ตลอดปีในบทความนี้กับ KAS
"หญ้าเนเปียร์”สุดยอดอาหาร สำหรับโคนม โคเนื้อ แพะ แกะ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เติบโตเร็วผลผลิตเยอะ
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ฝ้าย ทานตะวัน กล้วย กระเทียม ขิง มันเทศ พริก พืชตระกูลกะหล่ำ พืชตระกูลแตง และพืชผัก เป็นต้นวงจรชีวิตหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลา 30-40 วัน