ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2

ประวัติ

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2549-2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพการบริโภคดี และต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร จากการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าว ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น “CNSH 7566” และได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรองในปี 2558 

ลักษณะเด่น

ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,897 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,965 กิโลกรัมต่อไร่ มีอัตราแลกเนื้อ 46 เปอร์เซ็นต์ รสชาติหวาน (13.4 องศาบริกซ์) มีความต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ และปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะประจำพันธุ์

รากค้ำจุน ลำต้น และเปลือกหุ้มฝักมีสีเขียว เส้นไหมสีเขียวอ่อน อับละอองเกสรสีเหลือง ไม่มีหูใบที่ฝัก ไม่มีการแตกหน่อ วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 50-52 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 50-52 วัน อายุเก็บเกี่ยว 70-72 วัน เมล็ดสดสีเหลืองเข้ม ขนาดฝัก (กว้าง x ยาว) 4.8 x 18.0 เซนติเมตร จำนวนแถว 16-18 แถว ความสูงต้น 220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 115 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ทั่วไปทั้งเขตน้ำฝน ในเขตภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สุพรรณบุรี และสระบุรี และในเขตภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี และปลูกในพื้นที่ชลประทาน เขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และสุโขทัย รวมทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปลูกได้ทั้งก่อนฤดูการทำนา และหลังฤดูการทำนา

ข้อควรระวัง

เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง การปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์นี้ในแหล่งที่มีโรคระบาดควรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

แตนเบียน (Anagyrus lopezi) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแถบอเมริกาใต้ ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน สามารถฆ่า (การห้ำ) เพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายได้ทันที เฉลี่ยวันละ 20-30 ตัว และวางไข่ (การเบียน) ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เฉลี่ยวันละ 15-20 ตัว แตนเบียนหนึ่งตัวสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูได้เฉลี่ยวันละ 35-50 ตัว
ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าวมาหลายศตวรรษ การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อมาในปัจจุบัน