ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1

ประวัติ

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2548-2554 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และคุณภาพการบริโภคดี เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 50 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร จากการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวได้ข้าวโพดหวานลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น “CNSH 7550” และได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรองในปี 2556  

ลักษณะเด่น

ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,888 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,939 กิโลกรัมต่อไร่ มีอัตราแลกเนื้อ 40 เปอร์เซ็นต์ รสชาติหวาน (13.8 บริกซ์) และปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะประจำพันธุ์

รากค้ำจุน ลำต้น และเปลือกหุ้มฝักมีสีเขียว เส้นไหมสีเขียวอ่อน อับละอองเกสรสีเหลือง มีหูใบที่ฝัก ไม่มีการแตกหน่อ วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 50-52 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 52-54 วัน อายุเก็บเกี่ยว 72-74 วัน เมล็ดสดสีเหลือง ขนาดฝัก (กว้าง x ยาว) 5.0 x 18.0 เซนติเมตร จำนวนแถว 16-18 แถว ความสูงต้น 220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 120 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ทั่วไปทั้งเขตน้ำฝน และในพื้นที่ชลประทาน ทั้งก่อนฤดูการทำนา และหลังฤดูการทำนา

ข้อควรระวัง

เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบไหม้แผลใหญ่ หากมีการระบาดของโรคควรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

หลักพิจารณาสภาพพื้นที่ในการสร้างแปลงเพาะกล้ายาง 1. พื้นที่สำหรับสร้างแปลงกล้า – ควรเป็นที่ราบ สามารถระบายน้ำได้ดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การคมนาคมสะดวก ดินร่วน ดินที่ไม่เหมาะสมคือ ดินทรายจัด และดินเหนียว เพราะการระบายน้ำไม่ดี 2. การเตรียมดิน – ไถพลิกดิน
วันนี้ทางสยามคูโบต้าฯ ได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์เกษตรกรผู้มากประสบการณ์ในด้านการเพาะปลูกข้าวโพดมานานกว่า 25 ปี ใน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี นั่นก็คือ คุณอนงค์ วัตวงษ์ ซึ่งทำการเพาะปลูกข้าวโพดบนพื้นที่กว่า 50 ไร่ ให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพถึงปัจจุบัน โดยที่เกษตรกรรายอื่นสามารถปฏิบัติตามได้อย่างแน่นอน