ทำธุรกิจพืชผักแบบทันสมัย

ปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ทุกธุรกิจล้วนแล้วแต่นำเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาที่พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพ ลดระยะเวลา และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาเรื่องการขาดแรงงาน โดยเฉพาะภาคเกษตร ปัญหาด้านการขาดแรงงานทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ทำให้ต้นทุนเรื่องแรงงานกลายเป็นต้นทุนหลักของการทำธุรกิจการเกษตร ซึ่งในส่วนของการทำการเกษตรเพาะปลูกพืชผักซึ่งต้องใช้ความละเอียด และประณีตยิ่งมีปัญหารุนแรง จึงทำให้การทำธุรกิจการเกษตรด้านพืชผักขยายตัวได้ช้า อีกทั้งการควบคุมคุณภาพ และปริมาณผลผลิต ไม่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้บริษัทสยามคูโบต้าฯ จึงได้พยายามศึกษาและหาวิธีการ ที่จะลดปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจพืชผัก และเกษตรกรที่มีความต้องการเพิ่มรายได้ด้วยการปลูกพืชผักเป็นพืชหลังนา หรือประกอบอาชีพเพาะปลูกพืชผักแบบมืออาชีพ โดยฉบับนี้ทีมงานขอนำเสนอ รูปแบบการเพาะปลูกพืชผักด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาข้างต้นให้แก่ทุก ๆ ท่าน เรามาติดตามไปพร้อมกันเลยนะครับ

การเตรียมดินที่ดีและแม่นยำ

ในการเพาะปลูกพืชผักนั้นการเตรียมดินที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญขอความสำเร็จ เริ่มตั้งแต่ต้องมีการไถบุกเบิก (กรณีพื้นที่ดินเหนียวและดินแข็ง) หรือไถพรวน (กรณีพื้นที่ดินทราย) เพิ่มพลิกกลับดิน เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช  ตอซังข้าว และโรคแมลง เมื่อไถแล้วต้องทำการตากดินไว้ 7-14 วัน นอกจากนี้การไถบุกเบิกยังช่วยผสมให้ปุ๋ยที่ตกค้างได้คลุกเคล้ากันใหม่ด้วย

การย่อยดินด้วยโรตารี่ และการยกร่องด้วยโรตารี่ยกร่องผัก 

โดยปกติเกษตรกรทำการเพาะปลูกผักจะนิยมยกร่องเพื่อให้สะดวกในการจัดการ และป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในแปลงผัก ซึ่งจะทำให้ผักที่ปลูกเกิดการเน่าตายได้ แต่การยกร่องที่ผ่านมาใช้แรงงานคน หรือเป็นเพียงการใช้ผานพรวนลากให้เกิดร่องเท่านั้น จึงทำให้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร แต่ด้วยโรตารี่ยกร่องของ KUBOTA สามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว และทำงานได้รวดเร็วถึงวันละ 3-5 ไร่ ทั้งการย่อยก้อนดินให้เล็กลง และขึ้นร่องอย่างประณีต ทำให้เมื่อทำการปลูกผักจะไม่มีปัญหาการขังของน้ำในแปลงปลูก ลดปัญหาการเกิดโรคเน่าซึ่งทำให้ผลผลิตสูญเสีย

การเพาะปลูกที่ประณีตและรวดเร็ว

ขั้นตอนการปลูกถือเป็นส่วนที่ใช้แรงงานมากที่สุดในการทำธุรกิจพืชผัก เพราะด้วยความบอบบางของต้นกล้าผัก จึงต้องใช้แรงงานคนในการปลูกทีละต้น ซึ่งผู้ประกอบการจะมีต้นทุนแรงงานในส่วนนี้สูงมาก อีกทั้งคุณภาพงานปลูกยังขาดมาตรฐาน ทั้งการปลูกให้เป็นแถวเป็นแนวซึ่งส่งผลต่อระยะการเจริญเติบโตของพืชไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกัน และความลึกในการปลูกกล้าผักที่ส่งผลถึงการเจริญเติบโตที่ดี

ในส่วนนี้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ KUBOTA คือรถปลูกกล้าผัก ซึ่งทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ และไม่ส่งผลกระทบต่อกล้าผัก โดยหลักการทำงานคือ ผักทุกชนิดที่ต้องการพื้นที่ในการปลูกเป็นแถวสามารถใช้รถปลูกผักนี้ได้ โดยเริ่มจากการเพาะกล้าผักในถาดเพาะกล้าผัก จนผักเจริญเติบโตมีใบจริง 2-3 ใบ (อายุกล้าขึ้นอยู่กับชนิดผักที่ต้องการปลูก) ซึ่งข้อดีของการเพาะกล้าคือ ทำให้เราลดการใช้เมล็ดพันธุ์ลงได้ และสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์เพื่อนำไปปลูกได้ ทำให้อัตราการเจริญเติบโตเมื่อลงแปลงดีและสม่ำเสมอ

การปลูกผักด้วยรถปลูกผัก KUBOTA

จากการใช้แรงงานจำนวนมาก ใช้เวลามาก และไม่ได้คุณภาพที่สม่ำเสมอ สู่การปลูกผักที่แสนสนุก รวดเร็ว ประหยัดแรงงาน และได้คุณภาพสูง เมื่อเราใช้โรตารี่ยกร่องเรียบร้อยแล้ว กล้าผักที่เพาะไว้เจริญเติบโตได้ระยะที่เหมาะสม ที่เหลือก็คือขึ้นไปนั่งบนรถปลูกผัก และหยิบกล้าผักหยอดลงในช่องเพียงเท่านั้น ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นการขุดหลุม ในกล้า กลบโคนกล้า และเคลื่อนที่รถปลูกผักจะดำเนินการทุกขั้นตอน โดยสามารถทำงานได้รวดเร็วถึงวันละ 1-2 ไร่ โดยใช้แรงงานเพียงแค่คนเดียวในการจัดการ ธุรกิจพืชผักมีมูลค่ามหาศาล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่อยากพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งเห็นได้ว่าการปลูกผักด้วยเทคโนโลยีตามแบบฉบับ KUBOTA ทำให้ทุกท่านสะดวกสบายประหยัดแรงงาน ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการได้ นี่คือสิ่งดี ๆ ที่เรามุ่งพัฒนาเพื่อเกษตรกรไทยอยู่ตลอดเวลา

บทความที่เกี่ยวข้อง

การใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง หมายเหตุ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ฟอสฟอรัสใน
หลายท่านคงมีข้อสงสัยกับคำถามนี้ อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่ 1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย 2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 1.การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย