ด้วงเต่าตัวห้ำ

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถทําลายศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน ไข่ของผีเสื้อ หนอนขนาดเล็ก และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกินไรศัตรูพืช และบางชนิดกินเชื้อราเป็นอาหาร ด้วงเต่าทั่วไปมีปากแบบ ปากกัด ตัวเต็มวัยจะกัดและบดกินเหยื่อทุกส่วน  ส่วนตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะเจาะและดูดอาหารจากเหยื่อ เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดและเคี้ยวเหยื่อได้ทั้งตัว ด้วงเต่าตัวห้ำกินแมลงศัตรูพืชได้ทุกระยะ ทั้งระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย 

ด้วงเต่าตัวห้ำ นอกจากจะกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารแล้ว  ในขณะที่ขาดแคลนอาหารด้วงเต่าตัวห้ำสามารถกินน้ำหวานที่แมลงกลั่นออกมา (honeydew) น้ำหวานจากดอกไม้และเกสร น้ำดอกไม้ หรือน้ำค้างบนพืช หรือแม้แต่ใบพืชที่ถูกแมลงเข้าทําลาย และมีสารเหลวออกมาจากแผลที่ถูกกัดทําลาย แต่อาหารจําพวกนี้ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามปกติได้ เพียงแต่ให้มีอายุอยู่ได้เท่านันแต่หากจะให้ด้วงเต่าตัวห้ำมีการเจริญที่ดีและขยายพันธุ์ได้ดีนั้น จะต้องได้กินแมลงศัตรูพืชชนิดที่เป็นอาหารหลักที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละชนิด จะมีความชอบกินอาหารแตกต่างกันออกไป

วงจรชีวิตของด้วงเต่า

วงจรชีวิตของด้วงเต่า แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหาร อุณหภูมิ ความชื้นเป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคกลาง 2. ชุดดินนครปฐม (Nakhon Pathom series : Np) กลุ่มชุดดินที่ 7 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า การไหลบ่าของน้ำ
คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบ 6 มาตรการ จำกัดการใช้ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ผู้เกี่ยวข้องมีดังนี้ เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำเข้า/ผู้ผลิต กำหนดพืชที่อนุญาตให้ใช้ 3 สาร กำหนดข้อความในฉลาก แผนปฎิบัติการอบรม ตัวอย่างฉลากวัตถุอันตราย
“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง เร่งย่อยสลายเศษวัสดุทางการเกษตร ป้องกันโรคพืช เพิ่มผลผลิตซึ่งจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืช แ