ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง

ชนิดดิน

ดินมันสําปะหลังในประเทศไทย เป็นดินไร่ในที่นาดอนหรือที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ลาดชัน หรือมีลักษณะ ลูกคลื่นลอนลาด จําแนกชนิดชั้นดินตามระบบอนุกรมวิธานดินได้ 6 ชั้น ชั้นดินที่นิยมนําข้อมูลดินมาใช้ในการวางแผน การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ชั้นกลุ่มดิน และชุดดิน ชุดดินสําคัญที่ใช้ปลูกมันสําปะหลัง ได้แก่ ชุดดินโคราช วาริน สตึก ยโสธร ห้วยโป่ง มาบบอน

ชุดดินแต่ละชุดมีสมบัติแตกต่างกัน สมบัติที่สําคัญที่ใช้ในการจําแนกชนิดดินและเพื่อกําหนดคําแนะนําเบื้องต้น ในการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช คือ ประเภทเนื้อดิน 3 แบบ คือ ดินเนื้อละเอียด ดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ

ประเภทเนื้อดินของดินที่ใช้ปลูกมันสําปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย คือ ดินร่วนปนทราย รองลงมาคือ ดินทราย ดินเหนียวสีแดง และดินเหนียวสีดําที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสําปะหลัง

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสําปะหลังควรเป็นดินเนื้อปานกลาง เช่น ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินเนื้อหยาบ ประเภทดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวที่มีการจัดการดินดี ทําให้ดิน มีสมบัติเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ ของธาตุอาหารพืชและปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ดินมีความโปร่งซุย ไม่อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดาน แผ่นแข็งปิดผิว การกร่อนดิน ระบายอากาศ อุ้มน้ํา และระบายน้ำส่วนเกินได้ดี มีอัตราการแทรกซึมน้ำเหมาะสม ไม่เกิดชั้นน้ำใต้ดิน หรือมีน้ำขังบนผิวหน้าดินนานหลังฝนตกในปริมาณมาก ดังนั้นดินที่มีสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูก มันสําปะหลังต้องมีการจัดการดินโดยวิธีการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการจัดการดินเฉพาะพื้นที่ในไร่ของ เกษตรกรเอง

สมบัติของดินที่จํากัดการเติบโตของมันสําปะหลัง

ดินมันสําปะหลังในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายร่วน และดินร่วนปนทราย ดินประเภทนี้ในชั้นดินบน มีอนุภาคดินขนาดเม็ดทรายสูง และมีอนุภาคดินขนาดเม็ดเล็กกว่า ในรูปทรายแป้ง และแร่ดินเหนียวต่ำ มีโครงสร้างไม่ดี อุ้มน้ำและ ดูดยึดธาตุอาหารพืชได้น้อย เกิดการชะละลายของธาตุอาหารพืชได้ง่าย อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดานใต้ผิวดิน ชั้นน้ำใต้ดินชั่วคราว และอาจเกิด แผ่นแข็งปิดผิว ถ้าจัดการดินไม่ดี ทําให้ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ําต่ำ เกิดการไหลบ่าของน้ำ น้ำท่วมขังบนผิวดิน และเกิดการกร่อนดิน และที่สําคัญคือ มีปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชในดินต่ำ มีผลทําให้สมบัติโดยรวมเป็นดินที่จํากัดการเติบโตและให้ผลผลิต มันสําปะหลังต่ำ

ดินมันสําปะหลังในบางพื้นที่เป็น ดินเนื้อละเอียดประเภทดินเหนียวสีแดง สีเทาดํา หรือสีดํา มีสมบัติแน่นทึบ ระบายน้ำและอากาศไม่ดี และถ้าเป็น ดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะมีปัญหาขาดธาตุ อาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี

บทความที่เกี่ยวข้อง

โครงการส่งเสริมการทำนาเชิงอุตสาหกรรม (นาแปลงใหญ่) คือ การส่งเสริมเกษตรกรให้รวมกลุ่มกันเพื่อผลิต ทำให้มีอำนาจในการต่อรอง และสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ โดยไม่ได้รวมทุกแปลงเข้าด้วยกัน เพียงแต่เป็นการรวมกลุ่มกันเท่านั้น โดยภาครัฐจะเข้ามาส่งเสริมการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว และกิจกรรมการ
มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ดังนี้ 1.ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ 2.ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย
การทำนาดำในปัจจุบันมีหลายวิธีการในการผลิต และยังมีการนำเครื่องจักรกลต่างๆมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น หากเกษตรกรเลือกวิธีการและการใช้เครื่องจักรกลไม่เหมาะสมกับการทำงาน จะส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย และต้นทุนในการผลิตสูง ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการผลิตและการเลือกใช้เครื่องจักรกลให้เหมาะสมกับกระบวนการ