ชุดดินมาบบอน

กลุ่มชุดดินที่ 35

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน

สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : เร็ว

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมาก สีน้ำตาลแก่ สีเหลืองปนแดง และสีแดงปนเหลือง ในดินล่างลึกลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) มักพบเศษวัตถุต้นกำเนิดดินจากหินแกรนิต มีการสะสมเหล็กหรือแมงกานีสปะปนในเนื้อดินชั้นล่างๆ

ปัญหาและข้อจำกัด : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับพืชในฤดูเพาะปลูก และเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆให้แก่ดิน และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้ระบบอนุรักษ์ดินร่วมด้วย เช่น การคลุมดิน การทำคันดินระบายน้ำ

สมบัติทางเคมี

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชื้อราบิวเวอเรีย (Bauveria bassiana) เป็นเชื้อราในดินที่พบได้ทั่วไป มันเข้าทำลายแมลงทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ได้อย่างกว้างขวาง พบว่าเชื้อราขาวเป็นศัตรูกับแมลงศัตรูพืชที่สาคัญๆ เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน ตั๊กแตน ปลวก ด้วงงวงมันเทศ (Colorado potato beetle) ด้วงถั่วเม็กซิกัน (Mexican bean beetle) ด้วงญี่ปุ่น
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans การระบาด 1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์ 2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง ลักษณะอาการ ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบ