คลุมดินแปลง(มันสำปะหลัง)ให้ผ่านแล้ง

ภาวะภัยแล้ง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งปลูกในสภาพพื้นที่โล่งและขาดสิ่งปกคลุมหน้าดิน ทำให้น้ำส่วนใหญ่ระเหยออกจากผิวดิน เมื่อน้ำในดินลดลงมากและฝนขาดช่วง จึงเกิดสภาพดินแห้ง ต้นมันสำปะหลังขาดน้ำ ทิ้งใบ ไม่ลงหัว และเหี่ยวแห้งตาย

การคายระเหยน้ำ เป็นการสูญเสียน้ำไปจากแปลงปลูกพืช เกิดจาก 2 กระบวนการ คือการระเหยน้ำจากผิวดินและการคายน้ำของพืช ซึ่งการคลุมดินจะช่วยลดการระเหยน้ำจากผิวดินเพราะช่วยลดความแตกต่างของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระหว่างดินกับอากาศจึงป้องกันและลดการสูญเสียน้ำไปจากดินได้มาก พืชก็จะสามารถนำน้ำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ยาวนานขึ้นเป็นการช่วยบรรเทาความเสียหายจากภัยแล้ง

การคลุมดิน

เป็นการใช้วัสดุต่างๆคลุมดิน เช่น ฟางข้าว ใบหญ้าแฝก เศษใบไม้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ช่วยควบคุมอุณหภูมิดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินสามารถเก็บความชื้นไว้ในดินได้ยาวนานขึ้น ลดปริมาณน้ำไหลบ่า ลดการชะล้างพังทลายของดิน และควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช

ประโยชน์ของการคลุมดิน

1.   คลุมดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร ช่วยลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์

2.   คลุมดินเป็นการรักษาโครงสร้างของดินไม่ให้ดินจับตัวแน่น เป็นแผ่นแข็งทึบ เพราะการคลุมดินเป็นการป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่ตกลงมากระทบกับผิวดินโดยตรง เพิ่มความสามารถในการซึมน้ำของดิน ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดินลดลง และเพิ่มการกักเก็บน้ำและรักษาความชื้นในดิน

3.  ช่วยป้องกันและลดการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดการแย่งน้ำและอาหารระหว่างพืชปลูกกับวัชพืช

4.  ช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินโดยตรง จึงช่วยลดอุณหภูมิดินไม่ให้ร้อนจนเกิดอันตรายต่อรากพืช และมีผลทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

5.  วัสดุคลุมดิน เมื่อย่อยสลายจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

ปริมาณน้ำที่เก็บไว้ในดินได้เพิ่มขึ้น

คลุมดินทำอย่างไร

1.  กำจัดวัชพืชก่อนคลุมดิน เพื่อลดการแย่งน้ำและธาตุอาหารของวัชพืช

2.  ใช้ฟางข้าว ใบหญ้าแฝก เหลือเศษใบไม้ คลุมดินระหว่างร่องแปลงปลูกมันสำปะหลัง คุมหนาไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ช่วยลดการระเหยน้ำจากผิวดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น ประกอบด้วย 17 ธาตุ แบบออกเป็น 3 กลุ่ม ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้จากการให้น้ำและอากาศ และธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่มีอยู่ในดินในระดับหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก
สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร
ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1 การรับรองพันธุ์