การใส่ปุ๋ยยางพารา

การใส่ปุ๋ย

สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง 

ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง

หมายเหตุ

  • ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
  • ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด
  • ดินทราย คือ ดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่าย ตรึงธาตุอาหารได้น้อย มีโปแตสเซียมต่ำ
  • ดินร่วน คือ ดินที่มีเนื้อละเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการะเหยของน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
  • ปุ๋ยเม็ด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนกัน เช่น ปุ๋ยสูตร 15-7-18 , 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
  • ผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุมเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที

ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร็อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรด์ผสมกันในอัตราส่วนที่แตกต่างกันปามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางถัดไป

ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆอัตรา100 กิโลกรัม

หมายเหตุ

ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว

วิธีการใส่ปุ๋ย

วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายลสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดโดยวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้

  • ใส่รองพื้น  นิยมใช้ปุ๋ยร็อตฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึงด้วยแร่ธาตุต่างๆในดินโดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงหลุมก่อนปลูกยาง
  • ใส่แบบหว่าน – เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดวัชพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดปุ๋ยให้เข้ากับดิน เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ยซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางสามารถใช้รถแทรกเตอร์คูโบต้ารุ่น M6040SU ต่อพ่วงด้วยเครื่องหว่านปุ๋ย  คูโบต้ารุ่น FS300 สามารถทำงานเร็ว หว่านสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ หว่านปุ๋ยได้หลากหลายชนิดด้วยชุดปรับเลือกปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ดแห้ง ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดหรือเม็ดทราย และปุ๋ยโดโลไมท์ชนิดผง ทำให้ตอบโจทย์การใช้งานต่างๆ หว่ายปุ๋ยสม่ำเสมอกระจายทั่วพื้นที่ ส่งผลให้การดูดซึมธาตุ
  เครื่องหว่านปุ๋ยคูโบต้า FS300
  • ใส่แบบเป็นแถบ– เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได
  • ใส่แบบหลุม– เป็นการใส่ปุ่ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้างของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อยเหมาะสำหรับพื้นที่ลาดเทและไม่ได้ทำขั้นบันได

 นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดีมีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางวม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาข้างต้น

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้นประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไป จนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากจะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่นอยู่ในบริเวณห่างจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดอาหารหนาแน่น คือ เมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว โดยให้ห่างากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่าน

ปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยางที่เปิดกรีดแล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร

ระยะเวลาและอัตราการใส่ปุ๋ย :

ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มปลุกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือนจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุเกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ย

ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก

ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หมายเหตุ

เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยางผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่ปเดกรีดแล้ว

ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว

หมายเหตุ

ยางแก่ก่อนโค่น 3-5 ปี ควรงดใส่ปุ๋ย

บทความที่เกี่ยวข้อง

KUBOTA Farm ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ ของคูโบต้า บนเนื้อที่มากกว่า 220 ไร่ โดยใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างครบวงจร เพื่อยกระดับเกษตรกรรมให้เป็นเกษตรแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ด้วยเกษตรวิถีใหม่ที่ให้ผลลัพธ์คุ้มค่าทุกตารางเมตร รวมถึงการบริหารจัดการรายได้ที่ยั่งยืน เพื่อนำพาเกษตรกร
การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง