การเลือกใช้พันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่

การผลิตขยายอ้อยพันธุ์ดีให้มีประสิทธิภาพที่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มศักยภาพนั้น ปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดคือการเลือกใช้พันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยมีหลักการของการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ดังนี้

1. เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและมีคุณภาพ ความหวานสูง ซึ่งโดยควรมีค่าซีซีเอส. สูงกว่า 12

2. เป็นพันธุ์อ้อยที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ โดยเชื่อมโยงกับแหล่งปลูกอ้อย กล่าวคือ ในพื้นที่ใดที่มีโรคและแมลงศัตรูอ้อยชนิดใด พันธุ์อ้อยที่ควรเลือกใช้ในพื้นที่นั้น ๆ ก็ควรเป็นพันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญดังกล่าวเช่น การต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ การเข้า ทำลายของหนอนกออ้อย เป็นต้น

3. สอดคล้องกับพฤติกรรมความชอบ และวิธีการปฏิบัติในการปลูกและดูแลรักษาอ้อยของเกษตรกรแต่ละรายในแต่ละพื้นที่รวมทั้งความพร้อมทางด้านเครื่องมือ เครื่องจักรกลทางเกษตร และแรงงาน เป็นต้น

4. เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับสภาพดินในพื้นที่ปลูกอ้อยของแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสภาพดิน วิธีการให้น้ำ เป็นต้น เพื่อให้อ้อยสามารถแสดงศักยภาพ ของพันธุ์อ้อยในการให้ผลผลิตและคุณภาพอ้อยได้อย่างเต็มที่ ตามคำแนะนำของ นักวิชาการหรือนักส่งเสริมที่มีข้อมูลว่าพันธุ์อ้อยใด เหมาะสมกับชนิดดินแบบใด และ รูปแบบวิธีการปลูกแบบใด

5. พิจารณาความสามารถในการไว้ตอของอ้อย โดยพบว่าอ้อยตอคือส่วนที่ เป็นผลกำไรของการผลิตอ้อย ดังนั้น อ้อยที่เลือกใช้ควรเป็นพันธุ์ที่สมารถไว้ตอได้ดีและนานหลายปีโดยในแต่ละรอบผลผลิตอ้อยอาจลดลงได้แต่ไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของอ้อยปลูก

6. อายุการเก็บเกี่ยวอ้อย เพราะอ้อยแต่ละสายพันธุ์มีอายุการเจริญเติบโต และ การสะสมน้ำตาลที่แตกต่างกันไป โดยบางพันธุ์มีการสะสมน้ำตาลเร็ว บางพันธุ์มีการสะสมน้ำตาลช้า และความยาวนานของการมีระดับการสะสมน้ำตาลในระดับสูง (ความหวาน ลดลงเร็ว หรือช้า) ซึ่งพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรชาวไร่สามารถเลือกใช้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

6.1 อ้อยพันธุ์เบา คืออ้อยที่มีการสะสมน้ำตาลเร็วและมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-10 เดือน อาจเก็บเกี่ยวช่วงต้นฤดูหีบ (พฤศจิกายน – ธันวาคม) เช่น K84-69, K90-77, LK95-118, LK95-124, อีเหี่ยว, อู่ทอง 2, อาทอง 5, อู่ทอง 6, KU50, KU60-2 และ KU60-3 เป็นต้น

6.2 อ้อยพันธุ์กลาง คืออ้อยที่มีการสะสมน้ำตาลเร็วปานกลาง อายุการเก็บ เกี่ยวระหว่าง 10-12 เดือน เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวช่วงกลางหีบ (มกราคม– กุมภาพันธ์) เช่น K88-65, K88-87, K92-80, K97-27, K9972, อู่ทอง 3, อู่ทอง 8, กพส. 94-13 และขอนแก่น 3 เป็นต้น

6.3 อ้อยพันธุ์หนัก คืออ้อยที่มีการสะสมน้ำตาลช้าอายุการเก็บเกี่ยวมากกว่า 12 เดือน เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวปลายฤดู เช่น K84-200, K88-92, K92-213, K90-54, อู่ทอง 1 และอู่ทอง 7 เป็นต้น

7. พันธุ์อ้อยที่มีคำแนะนำและส่งเสริมให้ปลูกในแต่ละเขตพื้นที่ดังนี้

7.1 พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตภาคเหนือ ได้แก่ LK92-11, ขอนแก่น 3, K88-92, K99-72, K97-27, อู่ทอง 3 และ อู่ทอง 7 เป็นต้น

7.2 พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตภาคกลาง ได้แก่ LK92-22, ขอนแก่น 3, K88-92, K99-72, อู่ทอง 7 เป็นต้น

7.3 พื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออก ได้แก่ LK92-11, ขอนแก่น 3, K88-92, K95-84, อู่ทอง 1, อู่ทอง 2, อู่ทอง 3 และอู่ทอง 7 เป็นต้น

7.4 พื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ K88-92,K95-84,K97-27, LK92-11 และขอนแก่น 3 เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น ประกอบด้วย 17 ธาตุ แบบออกเป็น 3 กลุ่ม ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้จากการให้น้ำและอากาศ และธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่มีอยู่ในดินในระดับหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptocorisa acuta (Thunberg) Leptocorisa oratorius (Fabricius) วงศ์ : Alydidae อันดับ : Hemiptera ชื่อสามัญอื่น