การเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียนโดยใช้ต้นมันสำปะหลัง

แตนเบียน (Anagyrus lopezi) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแถบอเมริกาใต้ ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน สามารถฆ่า (การห้ำ) เพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายได้ทันที เฉลี่ยวันละ 20-30 ตัว และวางไข่ (การเบียน) ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เฉลี่ยวันละ 15-20 ตัว แตนเบียนหนึ่งตัวสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูได้เฉลี่ยวันละ 35-50 ตัว โดยที่เพศเมียจะทำหน้าที่กำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู และเพศผู้จะมีหน้าที่ผสมพันธุ์กับเพศเมีย

ขั้นตอนที่ 1 : ปลูกต้นมันสำปะหลังในกระถางขนาดประมาณ 8-12 นิ้ว ใช้ท่อนมันตัดยาวประมาณ 20-25  ซม. ปลูกในกระถาง ๆ ละ 2-3 ท่อน ให้น้ำและดูแลรักษา 35-45 วัน ควรปลูกไว้ให้ไกลจากบริเวณที่จะเตรียมเพลี้ยแป้งเพื่อเลี้ยงแตนเบียน

ขั้นตอนที่ 2 : ใช้พู่กันเขี่ยกลุ่มไข่ของเพลี้ยแป้งสีชมพูลงบนยอดและใบมัน ต้นละ 5-7 กลุ่มไข่ ตั้งพักไว้ในที่ร่ม มีแสงเพียงพอ ให้น้ำเป็นระยะ เพื่อให้ต้นมันเจริญเติบโตได้ดี ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 15-23 วัน จะได้เพลี้ยแป้งที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงแตนเบียน

ขั้นตอนที่ 3 : นำต้นมันที่มีเพลี้ยแป้งพร้อมแล้วใส่ในกรงที่มีตาข่ายเนื้อละเอียดตามขนาดที่เตรียมไว้ ปล่อยแตนเบียน 20 คู่ ต่อต้นมัน 3-5 ต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเพลี้ยแป้ง แตนเบียนจะวางไข่ เจริญเติบโตในตัวเพลี้ยแป้งทำให้เพลี้ยแป้งตาย กลายเป็นมัมมี่ใช้เวลาประมาณ 15-21 วัน

ข้อสังเกต : ในระยะแรกแตนเบียนเพศผู้จะออกจากมัมมี่ก่อน หลังจากนั้นแตนเบียนเพศเมียจึงจะออกจากมัมมี่ตามมา ระยะแรกจะมีแตนเบียนทยอยออกมาจากมัมมี่น้อยกว่าระยะหลัง ควรหมั่นเฝ้าสังเกตอย่างต่อเนื่อง และหลังจาก 15 วัน ควรมีการดูดจับแตนเบียนทุกวัน ทั้งนี้อัตราการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ปกติจะได้ประมาณ 10 เท่า จากจำนวนแตนเบียนที่ปล่อยเป็นพ่อแม่พันธุ์

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อครบกำหนด 15-21 วัน แตนเบียนจะเจาะผนังลำตัวเพลี้ยแป้งที่เป็นมัมมี่ออกมา ให้ใช้เครื่องดูดจับแตนเบียนตามตัวอย่าง นำแตนเบียนที่ได้มาคัดแยก ตรวจนับ และบรรจุภาชนะ โดยบรรจุเพศผู้และเพศเมีย อย่างละเท่า ๆ กัน จำนวน 100-200 คู่ ตามขนาดของภาชนะบรรจุ

หมายเหตุ : การบรรจุแตนเบียนลงในภาชนะบรรจุ ต้องใช่กระดาษทิชชู ขนาดประมาณ 1×2 นิ้ว โดยใช้พู่กันป้ายน้ำผึ้งลงบนทิชชู่ ทั้งนี้ต้องใช้น้ำผึ้งแท้ผสมกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วนน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน

ในกรณีที่ต้องการเก็บรักษาแตนเบียนไว้ใช้งาน สามารถเก็บรักษาได้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยจะเก็บรักษาได้ประมาณ 30-40 วัน แต่ควรเร่งปล่อยภายใน 15-20 วัน จะได้แตนเบียนที่แข็งแรงเหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปีนี้นับได้ว่าเป็นปีทองของมันสำปะหลัง สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังในการเพาะปลูก ปี 2552/2553 นับรวมพื้นที่โดยประมาณได้ 7.2 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 26.41 ล้านตัน ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังได้เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศไนจีเรีย และบราซิล แต่เมื่อเฉลี่ยค่าผลผลิตต่อจำนวนไร่ที่มีอยู่นี้
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium และ Acremonium การระบาด 1. ทางท่อนพันธุ์ 2. เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ 3. โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ลักษณะอาการ อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย
เพลี้ยแป้งสีชมพู พบการระบาดมากในช่วงฤดูแล้งฝนทิ้งช่วง เพลี้ยแป้งเข้าทำลายมันสำปะหลังได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตได้ด้วยการ ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น