การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

เทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีการนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้มีปริมาณมากๆ ได้พืชพันธุ์ดีที่ปลอดโรคและให้ผลผลิตสูงก็คือเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ใช้ชิ้นส่วนของพืช เช่น ลำต้น ตายอดตาข้าง ก้านช่อดอก ใบ ก้านใบ เป็นต้น มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภายใต้สภาพที่ควบคุมเรื่องความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เมื่อชิ้นส่วนนั้นเจริญและพัฒนาเป็น      ต้นพืชที่สมบูรณ์ มีทั้งส่วนใบ ลำต้นและรากที่ สามารถนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้

ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 

1. สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว 

2. ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค 

3. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์ด้วยการใช้เทคนิคของการเลี้ยงจากชิ้นตาพืชให้พัฒนาเป็นต้นโดยตรง 

4. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ จึงให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งละมากๆ พร้อมกันหรือในเวลาเดียวกัน

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมาก

2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช

4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 –15 นาที

5. ใช้ปากคีบ คีบชิ้นส่วนพืชล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง

6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์

7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี รหัส แล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป

สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าวมาหลายศตวรรษ การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อมาในปัจจุบัน
อากาศที่ร้อนและแล้งในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ทำให้เพลี้ยแป้งสีชมพูเพิ่มปริมาณได้รวดเร็วขึ้น ทางนักวิชาการแนะนำว่า อย่าฉีดยาฆ่าแมลง เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู อย่างเด็ดขาด
ความสำคัญ มวนเพชฌฆาต เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติประเภทแมลงห้ำ เป็นแมลงปากดูด ทำลายแมลงศัตรูพืชโดยใช้ปากที่แหลมยาวแทงเหยื่อที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม แล้วปล่อยสารพิษจนเหยื่อเป็นอัมพาต เคลื่อนไหวไม่ได้จากนั้น จึงดูดกินของเหลวภายใน ตัวเหยื่อจนแห้งตาย มวนเพชฌฆาตเป็นแมลงห้ำตั้งแต่ระยะตัวอ่อนวัย 1จนถึงตัวเต็มวัยทำลาย