การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของแมลงกระเบื้อง ในสวนยางพารา

จากการสํารวจสวนยางเกษตรกรในพื้นที่จังหวัด กระบี่ ตรัง สตูล โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร สงขลา พบการแพร่กระจายของแมลงชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็ง ลําตัวส่วนใหญ่ดําเข้าปกคลุมต้นยางตั้งแต่เหนือโคนต้นขึ้นไป และกระจายตัวอยู่รอบบริเวณพื้นดิน ซึ่งการกระจายตัวของแมลง สร้างความกังวลให้แก่ชาวสวนยางพารา และไม่สามารถกรีดยางได้เนื่องจากแมลงเข้าปกคลุม หน้ากรีด รวมทั้งก่อความรําคาญในขณะกรีดยางใน ช่วงเวลากลางคืน

พบว่าแมลงปีกแข็งดังกล่าวคือ แมลงกระเบื้อง มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ Mesomorphus villager Blanch และ M. vitalisi Chatanay แมลงชนิดนี้จะกินของเน่าเปื่อย ผุพัง เป็นอาหาร ระยะหนอนมีชีวิตอยู่ในดินและอยู่ในช่วงฤดูฝน คือเดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศชุ่มชื้น ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 6-7 เดือน มีสีดําหรือสีน้ำตาลดํา ลําตัวเป็นรูปไข่ 

การเข้าทําลาย แมลงกระเบื้องเข้าทำลายพืชอาศัย เช่น กาแฟ ต้นกล้ายาสูบ ต้นยางพารา มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ แมลงเข้าไปกัดกินรากของต้นไม้ดังกล่าวในระยะต้นกล้า จึงส่งผลให้ต้นกล้ายืนต้นตาย

ชนิดของสารเคมีกําจัด

การใช้สารเคมีในแปลงเกษตรกร แนะนําให้ ใช้สารเคมีดังต่อไปนี้

  1. คาร์บาริล (เซพวิล 85 wP) อัตราการใช้ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) อัตราการใช้ 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
  3. คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 40EC) อัตรา การใช้ 400 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง เร่งย่อยสลายเศษวัสดุทางการเกษตร ป้องกันโรคพืช เพิ่มผลผลิตซึ่งจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืช แ
ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้