การอนุรักษ์ดินและน้ำ

การอนุรักษ์ดินและน้ำ

นอกเหนือจากการปรับปรุงดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีสมบัติอื่น ๆ ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ในขณะเดียวกันควรมีการป้องกันหรือควบคุมความเสื่อมโทรมของดินไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุดรูรั่วหรือป้องกันการสูญเสียเนื้อดินที่ดีรวมทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารออกไปจากพื้นที่ปลูกด้วย มิฉะนั้นแล้วการปรับปรุงบำรุงดินโดยการ “เติม” ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงดิน หรือสารชนิดอื่น ๆ อาจไม่ได้ผลดีในการปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น เพราะเมื่อมีการเติมปุ๋ยหรือสารต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไปแล้วก็อาจจะเกิดการ “สูญเสีย” ออกไปจากพื้นที่พืชเองก็จะมีโอกาสดูดใช้ธาตุอาหารได้น้อย โดยทั่วๆไปวิธีการป้องกันหรือควบคุมการสูญเสียเนื้อดินและน้ำมีหลายวิธีในทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ 

1) เตรียมดินให้ถูกวิธีโดยการไถพรวนและยกร่องตามแนวระดับขวางความลาดเทซึ่ง     จากผลการทดลองโดยทั่วๆไปพบว่าจะช่วยป้องกันการสูญเสียเนื้อดินได้ดีมากนอกจากนั้นในบางท้องที่อาจปลูกมันสำปะหลังโดยการไม่ไถพรวนดินเลยแต่มีการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาควบคุมวัชพืชให้ดีจะมีส่วนช่วยป้องกันการชะล้างและพังทะลายของดินและการไหลบ่าของน้ำได้ดีเช่นกันในบางกรณีถ้าดินบนมีลักษณะแน่นแข็งมากหรือมีชั้นดินดานบริเวณใต้ผิวดินและทำให้มีปัญหาต่อการซึมของน้ำฝนรวมทั้งการลงหัวของมันสำปะหลังการเตรียมดินโดยการใช้ไถสิ่ว (sub-soiler) เพื่อทำลายชั้นดินดานจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีกว่าการเตรียมดินโดยการไถพรวนตามปกติ

2) การปลูกพืชบางชนิดเป็นแถวขวางความลาดเทของพื้นที่ซึ่งแถวของพืชที่แนะนำให้     ปลูกสลับกับแถวมันสำปะหลังในระยะที่เหมาะสมเช่นทุกๆระยะ 20-30 เมตรคือต้นหญ้าแฝกที่กรมพัฒนาที่ดินมีการแนะนำให้ปลูกป้องกันการสูญเสียดินและน้ำอย่างกว้างขวางทั่วประเทศพืชชนิดนี้เป็นพืชที่มีระบบรากลึกทนแล้งได้ดีเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแตกกอชิดกันหนาแน่นแข็งแรงและแถวกำแพงพืชชนิดนี้จะช่วยปะทะเพื่อลดแรงไหล่บ่าของน้ำและดักตะกอนดินได้ดีมากทำให้เกิดการสูญเสียดินและน้ำน้อยลงอย่างเด่นชัด

3) สำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกต้นฤดูฝนเนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันและมัน     สำปะหลังเองก็ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทะลายของดินโดยน้ำฝนได้ง่ายและในปริมาณมากในกรณีเช่นนี้การใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ในระยะเริ่มแรกหลังปลูกเช่นประมาณ 1 เดือนหลังปลูกจะช่วยทำให้มันสำปะหลังโตเร็วขึ้นเกิดการสร้างและการประสานกิ่งใบระหว่างต้นแผ่ปกคลุมผิวดินสามารถรองรับแรงปะทะของน้ำฝนได้เร็วขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียดินและน้ำน้อยลง

โดยสรุปการปรับปรุงบำรุงดิน     ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำดินที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและการป้องกันการเสื่อมโทรมของดินควรปฏิบัติควบคู่กันไปแบบผสมผสานไม่ควรเลือกปฏิบัติแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดผลดีเต็มที่หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อมีการ“เติมเพื่อเพิ่ม” ให้กับดินก็ต้องมีการ“อุดเพื่อป้องกันการสูญเสีย” สิ่งที่เติมลงไปรวมทั้งหลังมีการอนุรักษ์เนื้อดินที่มีอยู่แล้วเดิมด้วยจึงจะทำให้ดินนั้นมีสมบัติดีขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆยกตัวอย่างเช่นถ้าเป็นดินร่วนปนทรายที่มีธาตุอาหารพืชต่ำหรือขาดปุ๋ยธรรมชาติไม่อุ้มน้ำและถูกฝนชะล้างและเกิดการพังทลายของดินได้ง่ายวิธีการดูแลรักษาดินควรปฏิบัติดังนี้

  1. มีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวอย่างเหมาะสมหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์รูปใดๆก็ได้ในปริมาณที่มากเพียงพอ
  2. ถ้าจะมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่ไม่สามารถจัดหาปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักได้ควรใช้ปุ๋ยพืชสดแทนโดยเป็นพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสม
  3. ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทควรเตรียมดิน โดยการยกร่องปลูกพืชขวางความลาดเท หรือ ปลูกต้นแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางควาลาดเท โดยใช้ระยะระหว่างแถวแฝกที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียดินและน้ำ

การปลูกแฝกในไร่มันสำปะหลังในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดเอียงการปลูกแฝกขวางแนวลาดชันในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินเนื่องจากมันสำปะหลังเจริญเติบโตช้าในช่วง 1-3 เดือนแรกเมื่อฝนตกทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินสูงการปลูกแฝกจะปลูกขวางทางน้ำไหลจะช่วยลดการสูญเสียหน้าดินเมื่อแฝกอายุ 2-3 ปีก็สามารถดักตะกอนดินทำให้ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้นการปลูกหญ้าแฝกในไร่มันสำปะหลังควรใช้ระยะปลูกระหว่างหลุม 10 เซนติเมตรหลุมละ 1 ต้นเมื่อดำเนินการตามวิธีการข้างต้นดินในพื้นที่ที่มีสมบัติไม่เหมาะสมจะไม่มีสมบัติที่เลวลงไปกว่าเดิมและจะมีแนวโน้มที่จะมีสมบัติที่ดีขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่จะทำให้ได้ผลผลิตของมันสำปะหลังในระดับสูงอย่างสม่ำเสมอและยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้นฤดูฝน นิยมปลูกประมาณ กลางเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน* โดยปลูกงาก่อนฤดูปลูกข้าว *ขึ้นกับวันเวลาที่ฝนตกครั้งแรกของฤดูกาลและปริมาณการกระจายตัว ของฝนในแต่ละพื้นที่ ปลายฤดูฝน ปลูกประมาณเดือน กรกฎาคม – สิงหาคมโดยจะปลูกในพื้นที่ไร่ หรือพื้นที่ดอนหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ ฤดูแล้ง
นายมูล สุขเจริญ อายุ 56 ปี เกษตรกรในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิก อบต. ทำการเพาะปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกอ้อยของตนเองกว่า 700 ไร่ และพื้นที่ของลูกไร่ประมาณ 40 คน ในพื้นที่ 1,500 ไร่ โดยมีโควต้าอ้อยต่อปีกว่า 18,000 ตัน การดูแลอ้อยในพื้นที่ของตัวเอง รวมทั้งพื้นที่
ถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 65-75 วัน (บริโภคสด) และ 85-95 วัน (เมล็ดแห้ง) ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง นิยมใช้ในระบบปลูกพืช การปลูกถั่วเหลืองในระบบปลูกพืชมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ ตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืชในนาข้าว ช่วยเพิ่มธาตุอาหาร เพิ่มปริมาณ