การส่งเสริมการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อย ด้วยแนวคิดเกษตรครบวงจร

ปัจจุบันนี้ ได้มีเกษตรกรบางส่วนเริ่มเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกข้าวมาเป็นอ้อยในหลายพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสที่มั่นคงของ “อ้อย” เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการของตลาดจำนวนมาก และที่สำคัญ มีการกำหนดราคาที่ชัดเจน แต่ด้วยเกษตรกรบางราย ไม่กล้าตัดสินใจที่จะเปลี่ยนพื้นที่จากการทำนามาเป็นอ้อย เพราะตนเองไม่มีประสบการณ์การปลูกอ้อย กังวลเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูง และไม่มีความรู้ในการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

สยามคูโบต้า ร้านค้าผู้แทนจำหน่าย และกลุ่มวังขนาย จึงได้ร่วมกันส่งเสริมการปลูกอ้อยในนาข้าว ด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร เพื่อจุดประกายให้เกษตรกรเห็นว่าการปลูกอ้อยสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ แม้กระทั่งในนาข้าว และยังได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพด้วย ผ่านรูปแบบการทำแปลงส่งเสริม KAS จำนวน 8 ไร่ บริเวณโรงงานน้ำตาลวังขนาย บ้านโคกล่าม อ.บรบือ  จ.มหาสารคาม โดยมีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจ คือ ได้ผลผลิตจำนวน 26.64 ตัน/ไร่  ใช้ต้นทุนประมาณ 8,400 บาท/ไร่ และได้กำไรอยู่ที่ 24,000 บาท/ไร่  (ไม่รวมค่าตัดอ้อยและค่าขนส่ง เนื่องจากขายเป็นอ้อยพันธุ์)

หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการทำแปลงส่งเสริม KAS จึงได้มีการผลักดันให้เกษตรกรรอบโรงงานหันมาปลูกอ้อยกันมากขึ้น โดยกลุ่มวังขนายได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก บุคคลากร และสถานที่  นอกจากนี้ ยังให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรที่เปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเป็นอ้อยจำนวน 500 บาท/ไร่

ในขณะที่ สยามคูโบต้าและร้านค้าผู้แทนจำหน่าย ได้นำความรู้เรื่องการปลูกอ้อยข้ามแล้ง ด้วยวิธี KAS ไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรกร และให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร  โดยเฉพาะแทรกเตอร์ที่เหมาะสมกับงานไร่อ้อย ได้แก่ แทรกเตอร์ รุ่น M และแทรกเตอร์ขนาดเล็ก รุ่น B พร้อมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สามารถดูแลได้ครบทุกงานไร่อ้อย

สำหรับการปลูกอ้อยในพื้นที่นาข้าว ด้วยวิธี KAS  มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1.การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ใช้แทรกเตอร์ติดผานระเบิดดินดาน ไถเตรียมดิน เพื่อเปิดช่องให้น้ำฝนเข้าไปกักเก็บที่ใต้ดิน และใช้ผานพรวน ไถกลบพืชปุ๋ยสดและวัชพืชให้อยู่ใต้ผิวดิน เพื่อเร่งการย่อยสลายและปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย และใช้โรตารี่ ปั่นดินให้ละเอียด เพื่อปิดผิวหน้าดินและลดการสูญเสียความชื้นใต้ดิน

2.การเพาะปลูก ใช้เครื่องปลูกอ้อยแบบร่องคู่ เพื่อให้บำรุงรักษาได้ง่ายและประหยัดท่อนพันธุ์อ้อย นอกจากนี้ เครื่องปลูกอ้อยยังสามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น ซึ่งเมื่อต้นอ้อยเติบโตจากท่อนพันธุ์อ้อยแล้ว สามารถนำปุ๋ยไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตได้ทันที

3.การบำรุงรักษา ในระยะยืดปล้องและระยะสร้างน้ำตาล ใช้แทรกเตอร์รุ่น B ติดเครื่องฝังปุ๋ย เพื่อให้อ้อยได้รับปุ๋ยอินทรีย์อย่างทั่วถึง และใช้โรตารี่ ปั่นดินและกำจัดวัชพืชในระยะช่องว่างระหว่างแถวอ้อย ทดแทนการใช้สารเคมี 

หนึ่งในเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกอ้อยในพื้นที่นา คือ คุณกริชอารักษ์  รักษาพล เกษตรกรจาก อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จากเดิมที่ปลูกข้าวจำนวน 60 ไร่ หลังจากที่ได้ติดตามแปลงส่งเสริม KAS  ได้แบ่งพื้นที่ปลูกข้าวเหลือเพียง 5 ไร่ และเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยเป็น 55 ไร่ เนื่องจากมั่นใจว่าการปลูกอ้อยในนาข้าว สามารถทำกำไรได้ดีกว่าการปลูกข้าว อีกทั้งยังมีเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยในขั้นตอนต่างๆ โดยที่ผ่านมา คุณกริชอารักษ์ได้ปลูกอ้อยตามคำแนะนำของสยามคูโบต้าและกลุ่มวังขนายมาโดยตลอด ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีตามมาตรฐานโรงงานน้ำตาล และได้กำไรที่น่าพอใจ ในอนาคตยังวางแผนที่จะเช่าพื้นที่นา เพื่อทำการปลูกอ้อยเพิ่มเติมอีกด้วย

การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยในนาข้าว นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจในการช่วยชาวนาได้มีทางเลือกในการทำเกษตรในยุคปัจจุบัน โดยสยามคูโบต้าและกลุ่มวังขนายเอง ก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ประสบความสำร็จด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ : ข้อมูลดังกล่าว ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ  การระบาดของโรคและแมลง การระบาดของวัชพืช อัตราค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่ พฤติกรรมการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ การเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูก และปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่และในแต่ละปี รวมทั้งขึ้นอยู่กับผลค่าวิเคราะห์ดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบ
ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2549-2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพการบริโภคดี และต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูก
สถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทราย ให้แก่ผู้ประกอบกิจการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกปี พ.ศ. 2559 บริษัทผู้ผลิตสินค้าฯ ได้รับสิทธิซื้อน้ำตาลทรายโควตา ค. จ้านวน 98 บริษัท ปริมาณน้ำตาลทรายที่ให้สิทธิ จ้านวน 3,651,037 กระสอบ (100 กก./กส.) เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2558 ร้อยละ 7.32 ณ 31 กรกฏาคม 2559 บริษัทผู้ผลิตสินค้าฯ