การปลูกอ้อยข้ามแล้ง หรือ การปลูกอ้อยปลายฤดูกาลปลูกอ้อยแบบหนึ่งนอกฤดูฝนโดยอาศัยปริมาณน้้าฝนในช่วงปลายฤดูฝนมาสะสมอยู่ในรูปของความชื้นในดิน และอ้อยจะอาศัยความชื้นดังกล่าว มาช่วยในการงอกและการเจริญเติบโต จนกระทั่งฤดูฝนใหม่จะมาถึงหรือฝนตกหลงฤดูตกมาเติมความชื้นในดินใหม่ให้เพียงพอต่อความเจริญเติบโตของอ้อยต่อไป และอย่างสม่้าเสมอ สำหรับฤดูอ้อยข้ามแล้ง ส่วนใหญ่นิยมปลูกอ้อยกันในระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม
- 1การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะได้ผลผลิตและคุณภาพอ้อยสูงกว่าการปลูกอ้อยในฤดูฝน เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตของอ้อยที่ยาวนานกว่าและระยะการใช้น้้าขอลอ้อยที่เหมาะสมกว่าด้วย
- ลดต้นทุนการผลิตอ้อย การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะมีต้นทุนการผลิตอ้อยต่้ากว่าการปลูกอ้อยในฤดูฝน
วิธีการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
วิธีการปลูกอ้อยข้ามแล้วคล้ายๆกับวิธีการปลูกอ้อยทั่วไปโดยอาศัยการเก็บน้้าฝนลงในดินให้มากพอ และป้องกันการลดการสูญเสียความชื้นในดิน จากการระเหยให้มีประสิทธิภาพ
1. การเตรียมดิน โดยไถเปิดหน้าดินรับน้้าฝนในช่วงปลายฤดูฝนให้มากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิดดิน ความลึกในการไถ เป็นต้น หลังจากหมดฤดูฝน ต้องเตรียมดินพร้อมปลูกอ้อยด้วยการไถระเบิดดินดาน (ไถแบบไม่ต้องพลิกดินและลึก) จ้านวน 2 ครั้ง (แบบตารางหมากรุก) เสร็จแล้วรีบไถพรวนหน้าดินให้ร่วนซุย ด้วยการใช้ไถพรวน,ไถผาน 7 หรือเครื่องจอบหมุน (rotary)
ในกรณีมีระยะเวลาฤดูฝนนานพออาจจะปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั่นหรือพืชปุ๋ยสดหรือพืชตัดวงจรของโรคและแมลงก่อนได้
2. ต้องเตรียมท่อนพันธุ์อ้อย ที่มีคุณภาพดีปราศจากโรคและแมลงจากแปลงพันธุ์หรือแปลงที่คัดเลือกโดยเฉพาะโรคใบขาว โรคใบเหี่ยวเน่าแดง เป็นต้น และมีอายุท่อนพันธุ์ ไม่น้อยกว่า 8 เดือน
3. ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูก และในช่วงมืดๆหรืออากาศเย็นๆ ต้องอัดกลบดินแน่นๆ และหนาพอสมควร ไม่น้อยกว่า 5 นิ้ว หรือ 10 ซม. แต่ถ้าหากมีฝนตกหลงฤดูอย่างหนัก ในขณะอ้อยก้าลังงอกจะต้องรีบไถพรวนให้ดินร่วนซุยและขูดดินในร่องเพื่อน้าเอาดินที่ฝนชะมาทับทมกลบหนาขึ้น ในกรณีที่ดินมีความชื้นไม่พอต่อความงอก ให้เสริมน้้าขณะปลูก หรือ พื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงใต้ดิน เช่น ปลวก แมงนูนหลวง และ ด้วงหนวดยาว ให้ฉีดพ่น/หว่าน/หยด ด้วยสารฟิโปรนิล เป็นต้น
4. การใส่ปุ๋ย ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 ให้ใส่รองพื้นโดยเน้นปุ๋ยไนโตรเจนกับปุ๋ยฟอสฟอรัส อัตรา 30-50 กก./ไร่
- ครั้งที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนกับปุ๋ยโกรตัสเซียม อัตรา 50-100 กก./ไร่ ดดยฝังดิน
- ในกรณีที่อ้อยเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ให้ใส่ป๋ย ครั้งที่ 3 โดยเน้นปุ๋ยไนโตรเจน
5. การกำจัดวัชพืช คือ ต้องก้าจัดวัชพืชแบบบูรณาการ (สารก้าจัดวัชพืช เครื่องมือ แรงงาน ฯ) โดยที่วัชพืชมีผลกระทบต่ออ้อยน้อยที่สุด หรือให้มีวัชพืชหลงเหลือน้อยสุด ทั้งในแปลงและนอกแปลง (ถนน) วัชพืชในช่วงแรก (0-5 เดือน) มีผลกระทบต่ออ้อยอย่างมาก เพราะฉะนั้นเมื่อปลูกอ้อยเสร็จควรฉีดพ่นสารคุมวัชพืชทันที ส้าหรับ
การกำจัดวัชพืชต่อไป ต้องกำจัดวัชพืชยังเล็ก ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในกรณีมีวัชพืชเถาเลื้อย ควรก้าจัดขณะวัชพืชเล็กๆ หรืออายุอ้อย 2-4 เดือน และใช้สารก้าจัดวัชพืชเฉพาะด้วย