การปลูกมันเทศญี่ปุ่นบนพื้นที่สูง

มันเทศญี่ปุ่น เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เจริญเติบโตได้ดีใน  ดินทราย โดยสามารถปลูกทดแทนพืชชนิดอื่นได้ และให้ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่สูง นอกจากนี้มันเทศยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก

ปัจจุบันบนพื้นที่สูงมีการส่งเสริมให้ปลูกมันเทศญี่ปุ่น 2 ชนิด ได้แก่ มันเทศญี่ปุ่นเนื้อสีม่วง และมันเทศญี่ปุ่นเนื้อสีเหลือง ในการปลูกมันเทศญี่ปุ่นสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. การคัดเลือกพื้นที่ปลูก: ดินทราย หรือดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง โดยมีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) มากกว่าร้อยละ 3.52 อุณหภูมิอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 21-32 องศาเซลเซียส และมันเทศต้องการแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอหรือมีร่มเงา ทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์และผลผลิตต่ำ

2. การเตรียมยอดพันธุ์: ปลูกมันเทศญี่ปุ่นในแปลงปลูกอย่างน้อย 2 เดือน จากนั้นคัดเลือกและตัดยอดที่อวบ ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร โดยตัดยอดพันธุ์ก่อนลงปลูกประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ยอดมันเทศญี่ปุ่น  ไม่เปราะหรือหักตอนปลูก

3. การเตรียมแปลงปลูก: ใช้รถไถพรวนดินให้ละเอียดประมาณ 3 ครั้ง โดยไถพรวนครั้งที่ 2 หลังจากไถครั้งที่ 1 เวลา 15 วัน และ ครั้งที่ 3 หลังจากไถครั้งที่ 2 เวลา 15 วัน เพื่อลดการสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช  ในดิน จากนั้นขึ้นแปลงขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร

4. การปลูก: ปลูกมันเทศญี่ปุ่นแถวเดี่ยว ระยะห่างระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร

5. การให้น้ำ: ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูก จากนั้นให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

6. การให้ปุ๋ย

– ก่อนปลูก ใส่ปุ๋ยหมักโดยหว่านบนแปลง อัตรา 1,500 กิโลกรัม/ไร่ จำนวน 1 ครั้ง

– หลังจากปลูก 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กรัม/ต้น 1 ครั้ง

– หลังจากปลูก 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับ 13-13-21 (1:1) อัตรา 5 กรัม/ต้น จำนวน 1 ครั้ง

7. ศัตรูพืช

แมลงศัตรูมันเทศมีมากกว่า 10 ชนิด เช่น ด้วงงวงมันเทศ หนอนเจาะเถามันเทศ หนอนชอนใบมันเทศ หนอนกระทู้หอม แต่ที่เข้าทำลายและทำความเสียหายมาก คือ ด้วงงวงมันเทศ

8. การตลบเถามันเทศญี่ปุ่น: ตลบเถาโดยพลิกใบมันเทศญี่ปุ่นที่เลื้อยบนบริเวณร่องปลูกขึ้นบนแปลง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ตลบเถาเมื่อมันเทศญี่ปุ่นมีอายุ 2 เดือน และครั้งที่ 2 หลังจากตลบเถาครั้งแรก 20 วัน เพื่อกระตุ้นให้มันเทศญี่ปุ่นสร้างหัว

9. การตัดเถามันเทศญี่ปุ่น: ก่อนเก็บเกี่ยวมันเทศ 3-5 วัน ทำการตัดเถามันเทศญี่ปุ่น โดยตัดสูงจากโคนต้นประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้หัวมันเทศมีความหวานเพิ่มขึ้น

10.การขุดมันเทศญี่ปุ่น: เก็บเกี่ยวมันเทศญี่ปุ่นพันธุ์เนื้อสีเหลืองที่มีอายุ 120 วัน และพันธุ์เนื้อสีม่วงที่มีอายุ 150 วันนับจากวันปลูก โดยใช้รถไถหรืออุปกรณ์ขุดในการเก็บเกี่ยว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถทําลายศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน ไข่ของผีเสื้อ หนอนขนาดเล็ก และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกินไรศัตรูพืช และบางชนิดกินเชื้อราเป็นอาหาร ด้วงเต่าทั่วไปมีปากแบบ ปากกัด ตัวเต
ปุ๋ย หนึ่งในตัวช่วยของเกษตรกร ที่จะยกระดับประสิทธิภาพของการเพาะปลูก ปลูกผักก็ขึ้นงาม ปลูกผลไม้ก็โตง่าย เพิ่มผลผลิตให้งอกเงยสมบูรณ์ ได้ผลผลิตตามต้องการ และมีคุณภาพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งบทความนี้ KUBOTA จะมาเจาะลึกทุกรายละเอียดทุกประเด็น ของปุ๋ย จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ตัวเบียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เบียดเบียนด้านบนหรือด้านในตัวศัตรูอ้อยเพื่อการเจริญเติบโต หรือดำรงอยู่จนครบวงจรชีวิต ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุด