การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์

1. วิธีการปลูกสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

ปลูกแบบโรยเป็นแถวระยะระหว่างแถวขึ้นกับชนิดของพืช

– โสนอัฟริกัน ปอเทือง มะแฮะ พืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วสไตโล ถั่วฮามาต้า ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร

– ถั่วพร้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร

หยอดเป็นหลุม หลุมละ 2-3 เม็ด

– ปอเทือง ถั่วมะฮะ ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซรติเมตร ระยะห่างแถว 75-100 เซนติเมตร

– ถั่วพร้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ระยะระหว่างต้น 20-30 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร

ปลูกโดยการใช้ต้นกล้า พืชที่เกษตรกรปลูก โดยวิธีการนี้คือ โสนอัฟริกัน โดยการหว่านเพาะกล้าเมื่อายุ 30-35 วัน ก็ย้ายลงปลูกในแปลงที่ได้จัดเตรียมไว้อย่างดีระยะปลูก 20×75 หรือ 20×100 ตารางเซนติเมตร โดยปลูกหลุมละ 1-2 ต้น

ปลูกโดยหว่านเมล็ดลงในแปลง หว่านในขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ การปลูกโดยวิธีหว่านเป็นวิธีที่ง่ายเปลืองแรงงานน้อยและประหยัดเวลา แต่พืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นอย่างไม่เป็นระเบียบยุ่งยากต่อการดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวทำได้ยากและให้ผลผลิตต่ำ

2. การดูแลรักษาเมื่อพืชอายุ 23 สัปดาห์

ทำการแยกให้เหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น กำจัดวัชพืชพร้อมใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ พ่นยากำจัดศัตรูพืช ในการปลูกพืชปุ๋ยสด ถ้าไม่มีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแล้ว จะไม่สามารุเก็บเมล็ดพันธุ์ได้หรือได้น้อย ศัตรูของพืชปุ๋ยสดมีหลายชนิด เช่น หนอนม้วยใบ หนอนกัดใบและยอดอ่อน หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะฝัก เพลี้ยอ่อน จักจั่น เป็นต้น ควรมีการตรวจดูหนอนและแมลงให้ทั่วแปลงตั้งแต่เริ่มออกดอกไปจนถึงระยะติดเมล็ด โดยตรวจดูตอนเช้าก่อนมีแสงแดด นอกจากหนอนและแมลงแล้ว พืชปุ๋ยสดบางชนิด เช่น ปอเทือง จะมีโรคที่เกิดจากไวรัสโดยมีแมลงเป็นสื่อ ลักษณะอาการ คือ ใบเล็ก ดอกเป็นฝอยไม่ติดฝัก สามารถป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมติดต่อกัน

3. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์

เมื่อพืชปุ๋ยสดติดฝักแลฝักเริ่มแก่ก็จะต้องรีบทำการเก็บเกี่ยวทันที มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายได้ เนื่องจากฝักอาจจะแตกและเมล็ดจะร่วงหล่นลงดินทำให้ได้รับผลผลิตไม่ต็มที่ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วควรนำมากองไว้โดยเกลี่ยให้กระจายออก แล้วทำการนวดเพื่อกะเทาะเอาเปลือกออกแล้วคัดเอาแต่เมล็ดที่ดี โดยวิธีการฝัดเมล็กกลีบออกหลังจากนั้นนำเมล็ดออกตากแดด โดยใช้ผ้าใบรองปูเป็นพื้น อย่าตากบนลานซีเมนต์โดยตรงเพราะจะเกิดความร้อนมากอาจจะทำลายชีวิตเมล็ดพันธุ์ได้ เมื่อตากได้ประมาณ 1-2 แดด ความชื้นประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ ก็นำไปเก็บรักษาต่อไป อายุที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดแสดงในตาราง

สำหรับวิธีการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเมล็ดพืชปุ๋ยสดส่วนใหญ่จะแก่ไม่พร้อมกัน การเก็บทำได้ทั้งแบบเลือกเก็บเฉพาะฝักแก่ก่อน ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลผลิตมากและมีคุณภาพ แต่สิ้นเปลืองแรงงานและเวลามาก เหมาะสำหรับการผลิตพื้นที่ไม่มากนัก แต่ถ้าปลูกในพื้นที่มากก็ใช้เก็บแบบวิธีตัดทั้งกิ่งหรือตัดทั้งต้น เมื่อพิจารณาเห็นว่าเมล็ดแก้ได้ 75 เปอร์เซ็นต์จองทั้งหมด

4. การเก็บเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด

เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดแต่ละชนิดมีอายุการเก็บไม่เท่ากัน เมื่อได้เมล็ดมาควรนำไปปลูกเลยไม่ควรเก็บไว้ เมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิดถ้าเก็บรักษาไว้อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้เมล็ดพันธุ์นั้นมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงอยู่ได้นานโดยปกติเมล็ดพันธุ์ตระกูลถั่วที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงจะเก็บไว้ได้ไม่นานประมาณไม่เกิน 5-6 เดือน เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงมาก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ฯลฯ ส่วนเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดตระกลูถั่วที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อยกว่าจะเก็บไว้ได้นานกว่า เช่น ปอเทือง โสนต่างๆ ถั่วพร้า เป็นต้น อาจจะเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี ทั้งนี้การเก็บเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดอย่างถูกวิธีนั้น ควรเก็บไว้ในภาชนะที่สามารถปิดได้มิดชิดแมลงศัตรูพืชเข้าไม่ได้ เช่น ถุงที่มีฝาปิดมิดชิดกล่องกระดาษที่มีฝาปิดได้ ปี๊บที่มีฝาปิดได้มิดชิด ฯลฯ และควรเก็บไว้ในที่มีความชื้นต่ำและอุณหภูมิค่อนข้างต่ำมีการระบายอากาศได้ดี อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการเสียหายอันกิดจากโรค และแมลงเข้ามาทำลายเมล็ดพันธุ์พืชได้ ควรมีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดเข้าเก็บรักษา โดยวิธีรมเมล็ดพันธุ์เพื่อกำจัดแมลงที่ติดมากับเมล็ดด้วยยาฟอสท๊อกซิน อัตรา ½ – 1 เม็ดต่อเมล็ด 100 กิโลกรัม และคลุกด้วยยามาลาไธออน ชนิดผง 2 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 50 กรัมต่อเมล็ด 100 กิโลกรัม เป็นต้น เมล็ดพันธุ์ได้ดำเนินการเก็บโดยวิธีนี้ ก็จะมีประสิทธิภาพและสามารถรักษาเปอร์เซ็นต์ความงอกที่ดีไว้ได้นานเพื่อนำไปปลูกต่อไปได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน โทร. 0-2579-1918
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12
  • กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม.10900  โทร. 0-2579-8515 หรือที่สถานีพัฒนาที่ดินที่ตั้งใกล้บ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2549-2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพการบริโภคดี และต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูก
ข้อมูลพันธุ์มันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตร (สำหรับอุตสาหกรรม)