การปลูกปอเทืองในนาข้าว

ปอเทือง เป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะเป็นไม้พุ่มความสูง 100–300 เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดคล้ายรูปไตสีน้ำตาล ความยาว ประมาณ 6 มิลลิเมตร มี 10 -20 เมล็ด/ฝัก ปอเทืองเป็นพืชที่ต้นทุนในการปลูกต่ำและทนแล้ง โดยนอกจากเก็บเมล็ดพันธุ์ขายแล้วยังสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อใช้ปรับคุณภาพดินได้

วิธีการปลูกปอเทืองในนาข้าว

การเตรียมดินและการปลูกปอเทือง มี 2 วิธี คือ

1. ปลูกโดยไม่ต้องเตรียมดิน ซึ่งทำโดยก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทืองหว่าน 1–2 วัน แล้วจึงใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว วิธีนี้จะสูญเสียเมล็ดพันธุ์มากจากการกลบของฟางข้าว หรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวใช้เมล็ดปอเทืองหว่านตามร่องรถเกี่ยวข้าวแล้วกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลง หรือจะเก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงสัตว์ก็ได้ วิธีนี้จะได้ใช้พื้นที่มากขึ้น

 2. การปลูกโดยการเตรียมดินทำได้โดยใช้รถไถขณะดินมีความชื้นอยู่ แล้วหว่านเมล็ดปอเทือง จะคราดกลบหรือไม่ก็ได้ ถ้าคราดกลบจะงอกได้สม่ำเสมอและเจริญเติบโตดี หรือ ปลูกโรยเป็นแถว ระหว่างแถว 80 – 100 เซนติเมตร หรือปลูกเป็นหลุม ใช้ระยะปลูก 50×100 หลุม ๆ ละ 1–3 ต้น โดยอัตราเมล็ดที่ใช้ปลูกแบบหว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3 – 5 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกเป็นหลุมใช้เมล็ด 2 – 4 กิโลกรัมต่อไร่

การดูแลรักษา : หลังการหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแล้วประมาณ 3 –5 วัน จะงอกโดยอาศัยความชื้นที่มีอยู่ในดินไม่ต้องให้น้ำ เมื่ออายุ 2 – 3 สัปดาห์ ต้องพรวนดินกลบโค่นและกำจัดวัชพืช  ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา  20–30 กิโลกรัมต่อไร่  พ่นยากำจัดเชื้อราและแมลงศัตรูพืชเมื่ออายุ 50–60 วัน ดอกเริ่มบานจากข้างล่างก่อน หลังดอกร่วงโรยจะติดฝักจากข้างล่างก่อนเช่นเดียวกัน ฝักจะแก่เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 120–130 วัน

การเก็บเกี่ยวผลผลิต มี 2 วิธี คือ ใช้รถเกี่ยวข้าวเก็บเกี่ยว แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะลำต้นของมันมีความแข็งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรได้ และสำหรับเกษตรกรจะได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำจึงไม่คุ้มต่อการลงทุน และอีกวิธีคือการใช้เคียวเกี่ยวผึ่งแดดไว้ 3–4 แดด นำมาใส่กระสอบแล้วทุบให้  ฝักแตก หรือนำมากองบนผ้าใบ บนตาข่าย บนลานแล้วใช้รถย่ำในบริเวณแปลงนาได้เลย ผลผลิตเฉลี่ย 80-120  กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย  20 – 25 บาทต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์

ปอเทืองเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้น้ำหนักสดต่อไร่ 2 -5 ตัน/ไร่  เมื่อไถกลบจะปลดปล่อยธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโตรเจนในปริมาณสูง นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน  โดยเฉพาะ ในการปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ดอน โดยปลูกในรูปแบบของพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ดก่อนการปลูกหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก เช่น ระหว่างแถว อ้อย  มันสำปะหลัง แล้วไถ/สับกลบเมื่อปอเทืองอายุประมาณ 50 – 60 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ปลูกหลังจากพืชหลัก

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกิดจากเชื้อรา Cercosporidium ingsii พบครั้งแรกในประเทศซาเนีย สำหรับในประเทศไทยพบว่ามันสำปะหลังเกือบทุกสายพันธุ์เป็นโรคใบจุดสีน้ำตาล ความรุนแรงขึ้นอยู่กับอายุพืชและสภาพแวดล้อม และสามารถพบโรคในแหล่งที่มีความชื้นต่ำและแห้งแล้งได้
1. มลภาวะทางอากาศ มลพิษจากการเผาอ้อยจะมากหรือน้อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ โดยทั่วไปมลพิษจากการเผาไหม้ ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กและฝุ่นละออง ซึ่งจะกระจายไปในอากาศทำให้สภาพการมองเห็นลดลง เกิดการระคายต่อจมูกและลำคอแล้วถ้าประสบสภาวะนี้อยู่นาน
หลายท่านคงมีข้อสงสัยกับคำถามนี้ อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่ 1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย 2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต