การจัดการดิน ปุ๋ยและเศษซากพืช เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่ว

สมบัติของดินที่เหมาะสม

–  ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย 

–  มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี

–  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

–  ค่าความเป็นกรด – ด่าง 5.5 – 7.0 (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว) และ 5.5 – 6.0 (ถั่วลิสง)

ความต้องการธาตุอาหารของพืชตระกูลถั่ว 

ปริมาณธาตุอาหารที่ถั่วถูกใช้ เพื่อสร้างผลผลิต 300 กิโลกรัม/ไร่

ปริมาณธาตุอาหารในเศษซากต้นและใบถั่วที่ให้ผลผลิต 300 กิโลกรัม/ไร่

การจัดการดิน

ควรไถกลบเศษซากต้นและใบถั่ว เพื่อให้ธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ช่วยรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม สามารถใช้ในการผลิตพืชได้อย่างยั่งยืน

การจัดการปุ๋ย

1.  คลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม 1 ถุง (200 กรัม) ต่อเมล็ดถั่วเขียว 3-5 กิโลกรัม ถั่วเหลือง 10 – 12 กิโลกรัม หรือ ถั่วลิสง 10 – 15 กิโลกรัม

2.  ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม พร้อมปลูกใส่ปุ๋ย P K  หรือใส่ปุ๋ย N K ครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ย P K อัตราแนะนำ

3.  ระยะเริ่มงอกต้นถั่วใช้ธาตุอาหารในปริมาณน้อย ปมที่รากถั่วมีการเจริญอย่างช้าๆ

4.  ระยะออกดอกปมรากเจริญเต็มที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้สูงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย N K

5.  ระยะติดฝักต้นถั่วเจริญเติบโตสูงสุดการดูดใช้ธาตุอาหารเริ่มลดน้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง เร่งย่อยสลายเศษวัสดุทางการเกษตร ป้องกันโรคพืช เพิ่มผลผลิตซึ่งจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืช แ
การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นวันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ คุณอนันต์ บุญสมปอง บ้านเลขที่ 64/4 หมู่ 2 ต.จอระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี อดีตรองผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันได้ผันมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ซึ่งสามารถผลิตมันสำปะหลังสดได้
ข้าวพันธุ์ กข 79 ได้รับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 และอยู่ระหว่างการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าว รองรับพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 500,000 ไร่ ในปี 2563 กรมการข้าวจึงปรับแผนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ กข79 จำนวนหนึ่งมาใช้ในโครงการนำร่องการผลิตและตลาดข้าวนุ่มครบวงจรในพื้นที่เขตชลประทาน