การควบคุมและกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปลูกอ้อยและส่งผลให้ผลผลิตของอ้อยลดต่ำลงเป็นอันมากรวมถึงการที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการกำจัดวัชพืชไม่ทันตามเวลา โดยความเสียหายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัชพืชและอายุอ้อยในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอ้อยปลูกสำหรับอ้อยตอนั้น ปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลง เนื่องจากการมีใบอ้อยปกคลุมผิวดินอยู่ ทั้งนี้การที่จะปลูกอ้อยให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารเพื่อจัดการวัชพืชให้ได้ประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ความสำเร็จของการบริหารจัดการวัชพืช ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกอ้อย ช่วงเวลาฤดูกาลของการปลูกอ้อย และสภาพพื้นที่ปลูกอ้อยด้วย พบว่าควรจะมีการกำจัดวัชพืชตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่เพราะยิ่งวัชพืชอายุมากขึ้นต้นทุนในการกำจัดก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆโดยผลผลิตของอ้อยจะลดลง

วัชพืชสำคัญในไร่อ้อยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้

1. วัชพืชใบกว้าง

เป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon) โดยมีลักษณะแผ่นใบกว้างเมื่อเทียบกับความยาวใบ เส้นใบจัดเรียงเป็นลักษณะร่างแหหรือตาข่าย ต้นกล้ามีใบเลี้ยง 2 ใบ ลำต้นมีการแตกกิ่งก้านมากมาย การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ด เช่น ผักเบี้ยหิน โคกกระสุน ผักยาง สาบเสือ เป็นต้น 

2. วัชพืชใบแคบ

เป็นวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  (Monocotyledon) โดยมีลักษณะแผ่นใบแคบเมื่อเทียบกับความยาวใบ เส้นใบจัดเรียงลักษณะขนานกับก้านใบ การขยายพันธุ์มีหลายแบบ ส่วนใหญ่ใช้เมล็ด นอกจากนั้นขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนรากและลำต้น วัชพืชพวกนี้แบ่งได้ 2 กลุ่ม

2.1 วัชพืชวงศ์หญ้า (Grasses) ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์Graminae หรือ Poaceae จะมีลำต้นกลม มีข้อ ต้องชัดเจนและมีจุดเจริญอยู่ใต้ดินและตามข้อ เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าดอกขาว เป็นต้น

2.2 วัชพืชวงศ์กก(Sedges) ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Cyperaceae จะมีลำต้นส่วนใหญ่เป็นเหลี่ยม แต่ไม่มีข้อ ปล้องเหมือนกับวัชพืชวงศ์หญ้า เช่น แห้วหมู กกทราย เป็นต้น

การบริหารจัดการวัชพืชตามช่วงเวลาการปลูกอ้อย

1.  การปลูกอ้อยในเขตชลประทาน

เกษตรกรจะนิยมปลูกอ้อยในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นการปลูกเป็นร่องและมีการให้น้ำในร่อง ส่งผลให้มีวัชพืชเกิดขึ้นภายในร่องถ้าหากมีความจำเป็นต้องมีการใช้สารกำจัดวัชพืชก็ควรจะฉีดพ่นแค่ในส่วนของร่องก็พอ ซึ่งการฉีดพ่นแบบนี้จะเรียกว่าการฉีดพ่นภายในร่อง  Band or Strip Application ซึ่งอาจมีการใช้คุมวัชพืชแบบก่อนงอกก็จะสามารถลดพื้นที่การฉีดพ่นลงได้ 50 – 70 % แล้วอาจจะมีการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 2-2.5 เดือน หรือ อาจจะทำการพูนโคนใส่ปุ๋ยอ้อยอายุ 3-4 เดือนแล้วไม่จำเป็นต้องมีการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชอีก

2.  การปลูกอ้อยในเขตน้ำฝน

เกษตรกรจะนิยมปลูกอ้อยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน การฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชนั้นก็อาจจะมีการใช้แบบหลังอ้อยงอก แต่ในทางปฏิบัติเกษตรกรสามารถที่จะใช้สารกำจัดวัชพืชแบบยาคุมและยาฆ่าร่วมกัน การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกเมื่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน เพราะการปลูกอ้อยในฤดูฝนนั้นอาจจะไม่สะดวกที่จะเข้าไปพูนโคน การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกจึงมีความสำคัญ

3.  การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

เกษตรกรจะเริ่มปลูกอ้อยช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม การเตรียมดินจึงต้องมีความลึกประมาณ 50-60  เซนติเมตร เพื่อให้อ้อยสามารถได้รับความชื้นที่หลงเหลืออยู่ในดินสำหรับการงอกขึ้นมา ทั้งนี้ทำให้วัชพืชไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ อาจจะมีการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบคุมหรือใช้สารคุมร่วมกับแบบฆ่า สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัชพืช 

วิธีการกำจัดวัชพืช

1.  การใช้แรงงานคนและสัตว์

การใช้แรงงานคนเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด  คือการใช้มือถอน การใช้จอบถากหรือพรวน การปฏิบัติด้วยวิธีนี้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกน้อยๆเงินทุนน้อย ส่วนการใช้แรงงานสัตว์นั้น เป็นการใช้วัวควายลากไถเพื่อกำจัดวัชพืช วิธีนี้สะดวกกว่าแรงงานคน และควรทำในขณะที่วัชพืชไม่โตจนเกินไป ในทางปฏิบัติมักทำควบคู่ไปกับการใช้แรงงานคน โดยใช้จอบถากวัชพืชที่อยู่ใกล้บริเวณต้นอ้อย

2.  การใช้เครื่องจักรกลเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืช ได้แก่

2.1  เครื่องทำรุ่นคัตอะเว (Cutaway) คราดสปริง  (Spring The Cultivator)

จอบหมุน (Rotary  Cultivator)  และ  พรวนจาน (Disc harrow)  ทำหน้าที่กวนลูกหญ้ากำจัดวัชพืชและพรวนหน้าดินให้ร่วนซุยเพื่อให้ดินเก็บควาชื้นได้ดีขึ้น ในกรณีที่ปลูกอ้อยแล้วฝนตกควรใช้คัตอะเวจะช่วยเปิดร่องให้กว้างขึ้นบนหน้าดินให้แต่อ้อยจะงอกปกติ

2.2 เครื่องมือพรวนดินใส่ปุ๋ยพร้อมการกำจัดวัชพืช เป็นการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หรือ บำรุงตอใส่ปุ๋ยพรวนดินใช้ได้ทั้งในอ้อยปลูกและบำรุงต่อ 

1.    การใช้สารกำจัดวัชพืช

ในการเลือกใช้สารเคมีเพื่อการกำจัดวัชพืชนั้นจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย พันธุ์ อายุของวัชพืชกับสัดส่วนของยา ชนิดของวัชพืช ชนิดของดิน ความชื้นของดิน ขนาดฉีดพ่นไม่ควรมีลมแรงหรือฝนตก อัตราของสารเคมีกำจัดวัชพืช ต้องมีการฉีดพ่นให้ทั่วถึง

การที่จะเลือกใช้สารเคมี เพื่อกำจัดวัชพืชในแปลงอ้อยนั้นสิ่งที่จะต้องมีความคำนึงถึงอยู่เสมอคือความปลอดภัยและได้ผลดีที่สุด

3.1 สารเคมีควบคุมวัชพืชแบบก่อนงอกได้แก่ อลาคลอร์ และเพนดิเมทาลิน อาทราซีน มีตริบูซีน เฮกซาซิโนน ไดยูรอน ออกซีฟลูร์เฟน ซัลเฟนแทรสโซน

3.2 สารเคมีควบคุมวัชพืชแบบหลังงอกได้แก่   โพรพานิลและแอสซูแลม พาราควอต 2, 4-ดี พิโคลแรม+2, 4-ดี

การฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืชพ่วงรถไถแบบก่อนงอกและหลังงอก

  1. เครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืชพ่วงท้ายรถไถขนาดใหญ่สามารถฉีดพ่นได้ครั้งละ 4 ร่อง
  2. เครื่องฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชพ่วงท้ายรถไถขนาดเล็กสามารถเข้าไประหว่างแถวอ้อยและฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชได้ครั้งละ 1 ร่อง

2.  วิธีการเขตกรรม

  1.  การปลูกพืชแซม
  2.  การปลูกพืชคลุมดินและวัชพืชคลุมดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่ออื่น : หนอนเจาะสมอฝ้าย American cotton bollworm ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliothis armigera (Hübner) วงศ์ : Noctuidae อันดับ : Lepidoptera หนอนเจาะฝักข้าวโพด : เป็นศัตรูที่ทำให้ข้าวโพดเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน ซึ่งมีความอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืช การทำลายจะกัดกินไหมข้าวโพดและเจาะทำลายที่ปลายฝัก
การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการบำรุงรักษาไร่อ้อย ด้วยการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยโดยเฉพาะ ปัจจุบันชาวไร่อ้อยเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในไร่อ้อยกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา และการขนส่งเนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัด