การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยแมลงหางหนีบ (Earwig)

แมลงหางหนีบ (Earwig)

แมลงหางหนีบมีประมาณ 1,800 ชนิด มีลักษณะลำตัวยาวรี และค่อนข้างแบน มีชนิดที่เป็นตัวสีดำ และชนิดที่เป็นตัวสีน้ำตาล มีแพนหางเป็นรูปคีมใช้สาหรับการจับเหยื่อเพื่อการป้องกันตัว เพื่อสร้างรัง และเพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ทั้งนี้ แมลงหางหนีบมีความยาวลำตัวจากหัวจรดแพนหางประมาณ 4-15 มิลลิเมตร อาจะพบแมลงหางหนีบได้ทั้งประเภทที่มีปีกและ  ไม่มีปีก โดยกลุ่มที่มีปีกนั้น ปีกคู่แรกจะหดเข้าไปอยู่สั้นกว่าลำตัว ปีกคู่หลังบางใส พับอยู่ใต้ปีกคู่หลัง

แมลงหางหนีบ เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายเศษซากพืช จึงมักพบแมลงหางหนีบอยู่ในที่ชื้นมืดและค่อนข้างอับ เช่นใต้เศษซากพืช เปลือกไม้ รวมทั้งในแปลงพืชไร่ชนิด ต่าง ๆ เช่นในไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด และไร่ผัก โดยปกติแมลงหางหนีบจะออกหากินเฉพาะกลางคืน สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว และเป็นตัวหาที่กัดกินไข่ตัวหนอน และตัวอ่อนของสัตว์ต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็ก สามารถนำมาเพาะเลี้ยงและผลิตขยายได้ง่าย รวมทั้งสามารถนำไปปล่อยในไร่อ้อยเพื่อให้ควบคุมตัวหนอนหนอนกออ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แมลงหางหนีบมีความสามารถในการเสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้ดี การทำลายเหยื่อที่เป็นหนอนโดยการใช้แพนหางซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัวเหยื่อแล้วกินเป็นอาหาร แต่ถ้าเป็นเพลี้ยอ่อนจะกัดกินโดยตรง ดังนั้นแมลงหางหนีบจึงเป็นแมลงที่มีศักยภาพในการใช้เพื่อควบคุมหนอนกออ้อย

ลักษณะการทำลายศัตรูอ้อยของแมลงหางหนีบ

แมลงหางหนีบมีความสามารถในการเสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้เป็นอย่างดี ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเป็นตัวหากินไข่ศัตรูพืชเป็นอาหาร โดยใช้แพนหางลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัว เหยื่อแล้วกัดกิน ถ้าเป็นไข่ศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก เช่นเพลี้ยอ่อน แมลงหางหนีบจะกัดกินโดยตรง ทั้งนี้แมลงหางหนีบ 1 ตัวจะสามารถกินเหยื่อได้ประมาณ 20-30 ตัวต่อวัน ทั้งนี้ หากแมลงหางหนีบอิ่มแล้ว และยังเจอตัวหนอนจะใช้แพนหางหนีบจนกระทั่งตัวหนอนตายและจากไปโดยไม่กิน และจะหนีบต่อไปเรื่อย ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ข้าว’ ผลผลิตการเกษตรอันดับหนึ่งที่เป็นอาหารหลักและสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้ไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งพันธุ์ข้าวไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเท่านั้น แต่ไทยยังมีพันธุ์ข้าวอีกหลายพันธุ์ที่สร้างรายได้ไม่น้อยเช่นกัน ในบทความนี้ KAS จะพาไปรู้จักกับ 10 พันธุ์ข้าวที่นิยมในไทย พร้อมกับลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์ให้ได้รู้กัน!
อีกหนึ่งคำยืนยันความสำเร็จจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวด้วยวิธี KAS โดยใช้เครื่องหยอดและรถปักดำ ณ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ในปัจจุบันวิธีการปลูกข้าวที่เกษตรกรนิยม คือ การทำนาหว่าน ซึ่งมีข้อดี คือ สะดวกและรวดเร็ว แต่การทำนาหว่านก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจาก
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium และ Acremonium การระบาด 1. ทางท่อนพันธุ์ 2. เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ 3. โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ลักษณะอาการ อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย