การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยเชื้อราเมตาไรเซียม

การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยเชื้อราเมตาไรเซียม (ราเขียว)(Metarhizium anisopliae)

เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงได้หลายชนิด ซึ่งขึ้นกับชนิดและสายพันธุ์ของเชื้อรา เมตตาไรเซียมด้วย ลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสี เขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่างๆ และมนุษย์ 

ลักษณะของเชื้อราเมตาไรเซียมซึ่งเพาะเลี้ยงในถุง

ลักษณะเชื้อราเมตาไรเซียมบนอาหารเลี้ยงเชื้อรา

เชื้อราเมตตาไรเซียม Metarhizium anisopliae สามารถเข้าทำลายด้วงหนวดยาว ได้ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะไข่ จนถึงตัวเต็มวัย และสามารถทำลายหนอนได้มากกว่า 90% จัดว่าเป็นเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชชนิดหนึ่ง

เมื่อเชื้อราเมตตาไรเซียมสัมผัสกับด้วงหนวดยาว เชื้อราจะเข้าทางผิวหนังและเข้าทำลายระบบ ภายในของด้วงหนวดยาว ทำให้กินอาหารไม่ได้ และจะแห้งตายภายใน 14 วัน

เชื้อราเมตาไรเซียมเจริญบนตัวหนอนและสร้างเป็นดอกเห็ดขึ้นมาให้เห็นได้
ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวที่ตายจากการเข้าทำลายของเชื้อราเมตาไรเซียม
พบเป็นสีเขียวของเชื้อ

การผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียม

สามารถผลิตขยายโดยใช้เมล็ดข้าวโพดหรือใช้เมล็ดข้าวสุก การนาไปใช้ในสภาพไร่ มี 2 วิธี คือ

1. วิธีการราด โดยนำข้าวที่มีสปอร์ของเชื้อราเมตตาไรเซียมขึ้นปกคลุม จำนวน 2.5 กก. ผสมน้ำสะอาด จำนวน 100 ลิตร ผสมสารจับใบลงไปเล็กน้อย ใช้ไม้คนจนสปอร์หลุดจากเมล็ดข้าวสุก กรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเอาเมล็ดข้าวออก นำไปราดตามร่องปลูกอ้อย แล้วกลบดินทันที

2. วิธีการโรยเชื้อ นำข้าวที่มีสปอร์ของเชื้อราโรยลงในร่องปลูกอ้อย โดยโรยให้ต่างๆ เนื่องจากสปอร์ของเชื้ออราอาจ ฟุ้งกระจายได้ แล้วให้กลบทันที ใช้เชื้อราเมตตาไรเซียม อัตรา 40 กก./ไร่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันนี้การทำการเกษตรปลูกพืชด้วยวิถีอินทรีย์กำลังมาแรง และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะราคาพืชผักผลไม้ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์มีราคาสูงกว่าพืชที่ใช้สารเคมีเกือบเท่าตัว และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักชีวิตตนเอง และครอบครัวด้วย เกษตรกรหลายท่านที่ยังคงใช้สารเคมีเพราะคิดว่าการ
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบหรือตัด สับ ต้น ในและส่วนต่างๆ ของพืชในขณะที่ยังสด ปกตินิยมใช้พืชตระกูลถั่ว เพื่อเจริญเติบโตเร็ว ขึ้นได้ในดินหลายชนิด ที่สำคัญคือ พืชตระกูลถั่วสามารถจับหรือตรึงธาตุไนโตรเจน(ที่เป็นธาตุอาหารหลักของพืชจากอากาศได้) โดยไถกลบในช่วงออกดอกซึ่งเป็น
การลดความชื้นโดยใช้แสงอาทิตย์ คือ การใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งความร้อน โดยมีการเคลื่อนที่ของอากาศเป็นตัวช่วยพาความชื้นออกจากเมล็ด ทำให้ความชื้นของเมล็ดลดลง เป็นวิธีการที่ประหยัด ไม่ยุ่งยากแต่มีข้อเสียคือใช้แรงงานและพื้นที่ในการตาก