กลิ่นสับปะรดในอ้อย

ชื่อสามัญ   Pineapple disease

สาเหตุ  เชื้อรา Ceratocystis paradoxa 

อาการ : เป็นโรคที่เกิดกับท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์มีความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่เจริญเติบโต ผ่าลำดู  จะเป็นสีแดงเข้มสลับดำมีกลิ่นเหม็นคล้ายสับปะรด

วิธีการแพร่ระบาด : เชื้อราในดินจะเข้าทำลายทางตามรอยแผล และด้านตัดของท่อนพันธุ์ ต้นอ้อยแก่ก็อาจเป็นโรคโดยติดเชื้อจากดินหรือลมเมื่อนำไปทำพันธุ์จะติดโรคไปกับท่อนพันธุ์ อ้อยก็จะไม่งอก

วิธีการป้องกันรักษา :

เตรียมแปลงปลูกอ้อยให้เหมาะสม อย่าให้แปลงแล้งจัด น้ำขัง หรือแปลงร่มจนเกินไป เพราะถ้าอ้อยงอกช้า เชื้อโรคมีโอกาสเข้าทำลายท่อนพันธุ์ได้นานและมากขึ้น ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูกควรเป็นท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง งอกได้เร็ว และไม่ใช้อ้อยแก่จัดเกินกำหนดไปทำท่อนพันธุ์ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง ทำให้ท่อนพันธุ์งอกช้าจึงควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีฆ่าเชื้อราก่อนปลูก หรือพ่นสารเคมีหลังปลูกก่อนกลบดิน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการแพร่ระบาด เตรียมแปลงปลูกอ้อยให้เหมาะสม อย่าให้แปลงแล้งจัด น้ำขัง หรือแปลงร่มจนเกินไป เพราะถ้าอ้อยงอกช้า เชื้อโรคมีโอกาสเข้าทำลายท่อนพันธุ์ได้นานและมากขึ้น ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูกควรเป็นท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง งอกได้เร็ว และไม่ใช้อ้อยแก่จัดเกินกำหนดไปทำท่อนพันธุ์ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง ทำให้ท่อนพันธุ์งอกช้าจึงควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีฆ่าเชื้อราก่อนปลูก หรือพ่นสารเคมีหลังปลูกก่อนกลบดิน

พาหะนำโรค  :  ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค    ดิน    ลม 

ปัจจัยที่ส่งเสริมการแพร่  :   แปลงปลูกมีน้ำขังระบายน้ำไม่ดี     แปลงร่ม(แดดส่องไม่ถึงโคน) 

สารเคมีที่ใช้ป้องกันและวิธีการใช้ 

  • โปรพิโคนาโซล-แช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30  นาทีก่อนปลูก
  • บีโนมิล (เบนโนมิล)-แช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก
  • ไบลีตัน-แช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากจะให้นิยามของคำว่า “พอเพียง” ความหมายของมันอาจจะมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับปราชญ์ของเราท่านนี้ความหมายของคำว่าพอเพียง คงมิใช่พอเพียงเฉพาะตนเอง หากแต่เป็นความ “พอเพียง อย่างเพียงพอ” ของคนมากมายหลายครอบครัวในชุมชนบ้านดอนมัน ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ปราชญ์ของเราท่านนี้คือกำนันยอดเยี่ยม
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการปลูกข้าวให้ได้คุณภาพดีและมีผลผลิตที่สม่ำเสมอ แต่ในดินที่มีการปลูกพืชมักจะขาดแคลนธาตุไนโตรเจน ทำให้เกษตรกรต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในการทำนาทุกครั้ง ซึ่งในการใส่ปุ๋ย หากใส่มากเกินไป อาจทำให้ข้าวเกิดโรคและหักล้มง่าย หากใส่น้อยเกินไป อาจทำให้ได้ผลผลิตต่
ในปัจจุบันวิธีการปลูกข้าวที่เกษตรกรนิยม คือ การทำนาหว่าน ซึ่งมีข้อดีคือสะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการทำนาเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การทำนาหว่านข้าวแห้ง จึงเป็นวิธีปลูกข้าวที่แพร่หลายเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม การหว่านข้าวแห้งมีข้อเสียด้วยเช่นกัน