ไรแดง

มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่าง และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอด และขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบใบ เหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง

ช่วงเวลาระบาด

ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

การป้องกันกำจัด

– ด้วงเต่าและด้วงปีกสั้นเป็นศัตรูธรรมชาติ

– หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนานการตกของฝนสามารถลดการระบาดได้

– หมั่นตรวจแปลงหากพบระบาดรุนแรงในระยะเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด

ลักษณะของใบมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย
ไรแดงและการทำลาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด โดยพบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม
ในพื้นที่นี้ แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2534 เกษตรกรปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งอยู่ในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทย ไว้เพื่อการจำหน่าย และปลูกข้าวเหนียว กข6 ไว้เพื่อบริโภคและเหลือจำหน่ายบางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง ปริมาณน้ำฝนเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีการใช้รถไถเดินตามและรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องนวด
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝัก