โรคใบจุดไหม้ (Blight Leaf Spot)

เกิดจากเชื้อรา

มักจะพบควบคู่ใบไปกับโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคนี้สามารถทำให้ผลผลิตลดลงได้ 12-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ใบใบเหลือง และร่วงเร็วกว่าปกติ และอาจเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการเปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญได้ดีเมื่อใบร่วง และพุ่มใบเปิด

ลักษณะอาการ

อาการของโรคพบบนใบ เป็นจุดกว้างไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนกับโรคใบจุดสีน้ำตาล จุดแผลจะกว้างมาก แต่ละจุดอาจกว้างถึง 1 ใน 5 ของแฉกใบ หรือมากกว่าด้านบนใบมักเห็นจุดแผลสีน้ำตาลค่อนข้างสม่ำเสมอ ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อน ด้านใต้ใบมักเห็นเป็นวงสีเทา เนื่องจากส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา สาเหตุโรคเช่นเดียวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล ลักษณะแผลในบางครั้งจะคล้ายกับโรคใบจุดวงแหวน ซึ้งเกิดจากเชื้อ Phoma sp. (Phyllosticta sp.) แต่โรคใบจุดวงเแหวนจะเห็นวงแหวนด้านบนของใบ เมื่อแผลลามติดต่อกันทำให้ใบเหลืองทั้งใบ และร่วงไปในที่สุด ในพันธุ์ที่อ่อนแอ ใบร่วงอย่างรุนแรง ในมันสำปะหลังที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่ามันสำปะหลังที่มีอายุน้อย

การแพร่ระบาด

การป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในยุคปัจจุบันที่สภาพอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชผักลำบากมากขึ้น การปลูกผักในโรงเรือนจึงอาจะเป็นทางออกที่ดี ที่มีประสิทธิภาพที่สูง และตอบโจทย์วิกฤตที่เกษตกรกำลังเผชิญอยู่ได้ มาเรียนรู้เทคนิคการปลูกผักในโรงเรือน สร้างผลผลิตได้ตลอดปีในบทความนี้กับ KAS
คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบ 6 มาตรการ จำกัดการใช้ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ผู้เกี่ยวข้องมีดังนี้ เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำเข้า/ผู้ผลิต กำหนดพืชที่อนุญาตให้ใช้ 3 สาร กำหนดข้อความในฉลาก แผนปฎิบัติการอบรม ตัวอย่างฉลากวัตถุอันตราย
1. วิธีการปลูกสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ ปลูกแบบโรยเป็นแถวระยะระหว่างแถวขึ้นกับชนิดของพืช – โสนอัฟริกัน ปอเทือง มะแฮะ พืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วสไตโล ถั่วฮามาต้า ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร – ถั่วพร้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร หยอดเป็นหลุม